ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความพึงพอใจในงานของพนักงานฝ่ายผลิต ชิ้นส่วนเพื่อการส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค

Main Article Content

พงศสุนทร บุญชูเดชะ

Abstract

การวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับการปฏิบัติงานของ พนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อการส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค เป็นการวิจัย เชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่พนักงานฝ่ายผลิตที่ปฏิบัติงานอยู่ใน โรงงานของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อการส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จำนวน 222 คน โดย หาได้จากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane ที่ระดับ .05% วิธีการสุ่มตัวอย่างเป็น แบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบเลือกตอบ แบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผู้วิจัยแจกและเก็บแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของ พนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อการส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี สมรสแล้ว มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีอายุการทำงาน 5-10 ปี ตำแหน่งงานปัจจุบันเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ และมีรายได้ต่อเดือนไม่รวมการทำงานล่วงเวลา (OT) ระหว่าง 7,001-10,000 บาท (2) ด้านการปฏิบัติงานของพนักงานมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง (3) ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน พนักงานมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (4) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมคุณภาพชีวิตในการ ทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานอยู่ในเชิงบวกระดับปานกลาง โดยมีค่า ความสัมพันธ์ .525 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

 

RELATIONSHIP BETWEEN QUALITY OF WORK LIFE AND JOB SATISFACTION OF STAFF MANUFACTURING AUTOMOTIVE PARTS FOR EXPORTS IN HI-TECH INDUSTRIAL ESTATE

The research on the Relationship between Quality of Work Life and Job Performance of Employees’ Production Department in Automotive Parts Industry In Hitech was the survey research The population of this research comprised 222 production employees working at automotive Parts Industry In Hitech. The samples were derived from the sampling method of Taro Yamane with the stratified sampling method. The research instrument included the choice and 5-metric questionnaire. The researcher distributed and collected the questionnaires. Then, the collected data were analyzed by SPSS program whereas the statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation and Pearson correlation coefficient.

The research found that: (1) Personal Factors: Most of the production employees of Auto Parts Industry In Hitech were male aged 31-40 years old. They were married and obtained the secondary education with the working period of 5-10 years. Currently, they worked as the operating employees and earned the net salary (excluding OT fee) in the amount of 7,001-10,000 Baht per month. (2) Life Quality of Working: Generally, the employees had the opinions in the moderate level. (3) Performance: Generally, the employees had the opinions in the moderate level. (4) Overall, the life quality and the performance of the production employee had the moderate correlation with at .525 the statistical significance of .05

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)