การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม และภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 2

Main Article Content

กัญญา เพ็ชรนอก

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร สถานศึกษา 2) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ระดับประสิทธิผลของ สถานศึกษา 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมและภาวะผู้นำทางวิชาการของ ผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา 5) การบริหารแบบมีส่วนร่วมและภาวะผู้นำทาง วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็น รายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการ ประเมินผล การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ

2. ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ การประเมินผลการสอนของครู การประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน มุมมองต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านหลักสูตร การวางแผน เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพครู

3. ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยก เป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ การจัดการคุณภาพของโรงเรียนโดยรวม ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียน ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากร

4. การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมและภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับ ประสิทธิผลของสถานศึกษามีความสัมพันธ์ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. การบริหารแบบมีส่วนร่วมและภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อ ประสิทธิผลของสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ Z´y = .660X1 + .323X2

 

PARTICIPATIVE MANAGEMENT OF SCHOOL ADMINISTRATORS AFFECTED THE EFFECTIVENESS OF SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF HACHOENGSAO PRIMARY EDUCATION - AREA 2

The porposes of this study were to investigate the levels of 1) the participative management of school administrators 2) the academic leadership of school administrators 3) the effectiveness of education 4) the relationship between participative management, including academic leadership of school administrators and school effectiveness, and 5) participative management and academic leadership affected effectiveness of school under the office of Chachoengsao Primary Education-Area 2. The sample comprised of 325 school administrators and teachers. The tools used for data collection was a questionnaire. The statistics used for analyzing the data included percentage, means, standard deviation, Pearson correlation coefficient, and multiple regression analysis.

The results of the study were as follows:

1. The level of participative management of school administrators under the office of Chachoengsao Primary Education – Area 2, as a whole, was at a high level. When considered all aspects individually, they were put in order from high to low based on their average scores as follows: the benefit participation, the evaluation participation, the participation in making decision, and the operation participation.

2. The level of academic leadership of school administrators, as a whole, was at a high level. When considered all aspects individually, they were put in order from high to low based on their average scores as follows: the teaching evaluation, the students learning achievement evaluation, the point of view on the trend of curriculum changes, and the planning for the development of teaching profession advancement.

3. The level of school effectiveness as, as a whole, was at a high level. When considered all aspects individually, they were put in order from high to low based on their average scores as follows: the overall quality management of schools, the students’s academic achievement, and the personnels’s job satisfaction.

4. The participative management and the academic leadership of school administrators had a statistically significant relationship at the .05 level with the effectiveness of school.

5. The participative management and the academic leadership of school administrators affected the effectiveness of school at the .05 level of statistically significance and it could be written in an equation form as follows: Z'y = .660X1 + .323X2

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)