การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำลูกแป้งข้าวหมาก ในเขตภาคกลางของประเทศไทย

Main Article Content

สุวินัย เกิดทับทิม

Abstract

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจความหลากหลายของภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำ ลูกแป้งข้าวหมากจากชาวบ้านในเขตจังหวัดภาคกลาง ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัด สระบุรี อยุธยา อ่างทอง และลพบุรี รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการจัดการความรู้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นการทำลูกแป้งข้าวหมากให้กับชาวบ้าน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นชาวบ้านที่ประกอบ อาชีพทำ ลูกแป้งข้าวหมาก จังหวัดละ 1 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างและแบบบันทึกการสังเกตวิธีทำลูกแป้งข้าวหมากทำการ ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งผล การสำรวจพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำลูกแป้งของชาวบ้านมาจากบรรพบุรุษ ญาติ หรือเพื่อนสนิท บางรายมีการค้นคว้าทดลองด้วยตนเองเพิ่มเติม กระบวนการทำและ วัตถุดิบที่ใช้มีความแตกต่างกันโดยเฉพาะวัตถุดิบที่เป็นสมุนไพรที่ใช้ ชาวบ้านมีความเชื่อว่า ข้าวหมากมีประโยชน์ต่อการหมุนเวียนโลหิตและบำรุงหัวใจ แต่ไม่ทราบคุณค่าด้าน โพรไบโอติก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรกำหนดแนวทางการแนวทางการจัดการ ความรู้ สนับสนุน และฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำลูกแป้งข้าวหมากของชาวบ้านเพื่อให้ คนรุ่นใหม่ตระหนักและเห็นคุณค่าของอาหารเสริมสุขภาพของไทย ซึ่งอาจผลิตเป็นสินค้า สร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้อีกทางหนึ่ง

 

KNOWLEDGE MANAGEMENT OF LOCAL WISDOM OF LOOGPANG KAOMARK MAKING IN THE CENTRAL AREA OF THAILAND

This research aimed to survey the diversity of local wisdom of Loogpang Kaomark making in the central area of Thailand; Ayutthaya, Angthong, Lopburi and Saraburi provinces included to suggest the ways for knowledge management of local wisdom of Loogpang Kaomark making. A villager who produced Loogpang Kaomark in each province was a key informant. Research tools were structural interview form and observation form of Loogpang Kaomark making. Data were tested by methodological triangulation and analyzed by qualitative method. The results showed that production process of Loogpang Kaomark in the 4 provinces were from ancestors, relatives or closed friends. Some villagers were more investigation by themselves. Loogpang Kaomark processing and raw materials were different in these areas especially Thai herbs. They believed in usefulness of Loogpang Kaomark for heart and circulation health, but lacked of probiotic knowledge. Therefore, related organizations should define and set up knowledge management for support and rehabilitation of the local wisdom in Loogpang Kaomark making in order that new generation would be aware and appreciate the value of Thai healthy food production which could do commercially and strengthen community economy.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)