การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่อง คอนกรูเอนซ์ สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ

Main Article Content

นฤนาท จั่นกล้า

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง คอนกรูเอนซ์ ของนักศึกษากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง และศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักศึกษากลุ่ม ทดลอง กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเป็นนักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ที่เรียน เรื่อง คอนกรูเอนซ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 38 คน และ กลุ่มควบคุม 35 คน ทั้งสองกลุ่มมีความสามารถใกล้เคียงกัน โดยพิจารณาจากการทดสอบความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ กำหนดให้กลุ่มทดลองใช้การเรียนแบบ ร่วมมือ กลุ่มควบคุมใช้การเรียนแบบบรรยาย เวลาในการทดลองทั้งหมด 14 คาบ คาบละ 60 นาที ใช้ แบบแผนการวิจัยแบบ มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการทดสอบหลังการทดลองทั้งสองกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบ สังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ สมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที คือ t - test แบบ Independent กำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง คอนกรูเอนซ์ ของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ สูงกว่านักศึกษาที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบบรรยายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตาม สมมติฐาน

2. ผลการสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือมี พฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 92.21 ของคะแนนเต็ม

 

THE EDUCATION OF LEARNING ACHIEVEMENT AND GROUP WORK BEHAVIOR IN CONGRUENT FOR UNDERGRADUATE STUDENTS OF MATHEMATICS AT PHRANAKHON SI AYUTTHAYA RAJABHAT UNIVERSITY BY UTILIZING COOPERATIVE LEARNING

The purposes of this research were to compare the learning achievement in Congruent of the experimental group and the control group and to study group work behavior of experimental group. The samples were undergraduate students of mathematics at Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University who took Congruent in the second semester of academic year 2012. There are 2 groups 38 students in the experimental group and 35 students in the control group. The ability was nearly the same for both groups. Based on tests of basic knowledge in mathematics. Assign to the experimental group was taught by using cooperative learning and the control group was taught by lecture method for fourteen 60 minute- periods. The Posttest Design was used for this study. The research tools consisted of instructional plans; achievement test and behavior observe form. Then the data were analyzed by using percent, arithmetic means, standard deviation and t - test independent. The statistics significance at level .05

The research results revealed:

1. The achievement of students in cooperative learning group was better than the achievement of students learning by using the class lectures at that significance level of .05

2. The group work behavior of students in cooperative learning group was very high leveled at 92.21 percent of the full score.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)