คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ : กรณีศึกษาพนักงานผู้ปฏิบัติ หน้าที่ในสำนักงานใหญ่

Main Article Content

รณัชฤดี ป้องกันภัย

Abstract

การศึกษาเรื่อง คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ กรณีศึกษาพนักงานผู้ ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานและปัจจัยที่มีผล ต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน ประชากรที่ศึกษา คือ พนักงานการเคหะแห่งชาติที่ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงาน ใหญ่ จำนวน 327 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า

ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ได้แก่ การดำเนินชีวิตที่สมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน และโอกาสพัฒนาขีดความสามารถของตนเองสำหรับปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงาน ได้แก่ เพศ ลักษณะงาน การบังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับ เพื่อนร่วมงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน อัตราเงินเดือน อายุราชการ และปัจจัยที่สามารถ อธิบายความผันแปรคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการ ทำงานสามารถอธิบายความผันแปรได้สูงสุด รองลงมาได้แก่ การบังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อน ร่วมงานและลักษณะงาน ตามลำดับ

 

THE QUALITY OF WORK LIFE OF THE EMPLOYEES OF THE NATIONAL HOUSING AUTHORITY: A CASE STUDY ON THE EMPLOYEES WORKING AT THE HEADQUARTER

The research on the quality of work Life of the employees of the National Housing Authority: A Case Study on the Employees Working at the Headquarter aims to examining the level of the quality of work life and the factors that affect the quality of work life. A studying was selected from 327 employees who work at headquarter of the National Housing Authority by stratified sampling. Questionnaires were selected tool on study. The results of the study were as follows:

The level of the quality of work life was in the medium level. As far as each dimension is concerned, every of them were at the medium level: work-life balance, career path and security, and self-capacity building, respectively. The factors regarding the quality of work life were as follows: sex, job, supervision, colleague relationship, and work environment. Yet, the factors regardless of the quality of work life were as follows: age, education, marriage status, position, work experience, rate of salary, and government post experience. The factors that can explain the variation of the quality of work life of the employees of the National Housing Authority which is work environment that can explain the maximum variation followed by supervision, colleague relationship and job.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)