ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ศิริวรรณ แม้นศิริ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของ บุคลากร 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับ ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร 4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร กลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากร สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด ฉะเชิงเทรา จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ปัจจัยด้านความเด่นชัดของ งาน ปัจจัยด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านความรู้สึกว่าตน มีความสำคัญต่อองค์การ

2. ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจาก มากไปน้อย ได้แก่ ด้านจิตใจ ด้านบรรทัดฐานทางสังคม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคงอยู่

3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร มีความสัมพันธ์ ทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร ได้แก่ ปัจจัยด้านค่าตอบแทนและ สวัสดิการ ด้านลักษณะการกระจายอำนาจ ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ด้านความน่าเชื่อถือ และพึ่งพาได้ขององค์การ และด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ สามารถพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของ บุคลากร สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ ร้อยละ 66.80 เขียนเป็นสมการในรูปคะแนนมาตรฐานได้ คือ Z´y = .384X13 + .208X11 +.213X4 +.141X8 +.137X1 ส่วนปัจจัยด้านความมีอิสระในงาน ด้านงานที่มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านความ หลากหลายของงาน ด้านโอกาสก้าวหน้าในงาน ด้านความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ ด้านทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงาน ด้านความคาดหวังที่จะได้รับการตอบสนองจากองค์การ และด้านความเด่นชัด ของงาน ไม่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร

 

THE FACTORS AFFECTING TO ORGANIZATIONAL COMMITMENT OF PERSONNEL UNDER CHACHOENGSAO PROVINCIAL OFFICE OF THE NON-FORMAL AND INFORMAL EDUCATION

This study aims to study 1) the level of factors affecting to organizational commitment of personnel, 2) the level of organizational commitment of personnel, 3) the relationships between factors and organizational commitment of personnel, and the factors affecting to organizational commitment of personnel. The samples of this study consisted of 144 personnel under Chachoengsao Provincial Office of the Non- Formal and Informal Education. The questionnaire was used for collecting the data. Percentage, Mean, Standard Deviation, Pearson,s Product Moment Correlation Coefficient, and Multiple Regression Analysis were used for analyzing the data.

The findings were as follows:

1. The factors affecting to organizational commitment of personnel as a whole was a high level, ranking by the mean scores from high to low: job performance factor, job dominance factor, compensation and benefits factor, and self-esteem on organization factor.

2. The organizational commitment of personnel as a whole was a high level, ranking by the mean scores from high to low: psychological, the social norms, and the existence.

3. The relationships between factors and the organizational commitment of personnel were positively with statistically significant at .05

4. The factors affecting to organizational commitment of personnel were compensation and benefits factor, decentralization administration, participle trust and reliability of organization, and job performance factor. It could predict organizational commitment of personnel organizational commitment of personnel under chachoengsao provincial office of the non-formal and informal education at 66.80 percent, and could be written the standard Quatation as Z’y=.384X13+.208X11+.213X4+.141X8 +.137X1 on the job autonomy, the factors of interact with others, job variety, the self-esteem organization, attitudes toward colleagues, expectation to response from organization, job dominance did not affect to organizational commitment of personnel.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)