การพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดกลุ่ม OTOP จังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษากลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

Main Article Content

สมบูรณ์ ขันธิโชติ
ชัชสรัญ รอดยิ้ม

Abstract

การพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดกลุ่ม OTOP จังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษากลุ่มสมุนไพรที่ ไม่ใช่อาหาร วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดกลุ่ม OTOP จังหวัด นนทบุรี: กรณีศึกษา กลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Study) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต ผู้ให้ข้อมูล (Key Informants) ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จังหวัดนนทบุรี จำนวน 8 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพจาก การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จังหวัดนนทบุรี ส่วนใหญ่เป็น ประเภทแชมพู ครีมอาบน้ำ เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด ผลิตภัณฑ์ เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้วัตถุดิบ ทรัพยากรในพื้นที่มีเพียงพอ ปัญหาที่พบ คือผู้ประกอบการ OTOP ขาดความรู้ ความเข้าใจการพัฒนาผลิตภัณฑ์-บรรจุภัณฑ์และการสร้างแบรนด์ ขาดความรู้ ความเข้าใจ ด้านการตลาด เครือข่าย OTOP ไม่เข้มแข็งขาดความร่วมมือของบุคคลในเครือข่าย ขาดเงินทุนในการ ดำเนินงาน การได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนจากส่วนกลางและ ภายในจังหวัดยังไม่ต่อเนื่อง

การพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายผู้ประกอบการกลุ่ม OTOP ประเภท สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับผู้จัดจำหน่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่จัดกิจกรรม เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ OTOP สินค้าของกลุ่มมีลักษณะคล้ายกัน ต้องมีการคัดเลือกสินค้าเด่นของกลุ่มเพื่อ ทำการประชาสัมพันธ์ในลักษณะของกลุ่มหรือเครือข่าย โดยสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกันต้องเลือกสินค้า ที่เด่นที่สุดในการนำเสนอ จัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการ OTOP สมุนไพร่ที่ไม่ใช่อาหารของจังหวัด นนทบุรีเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการปรึกษาหารือ หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งในการจำหน่ายสินค้า ต้อง สร้างตราสินค้าเพื่อให้เป็นที่รู้จักกับผู้บริโภค

 

THE DEVELOPMENT OF THE COMPETE AS IN MARKETING OF OTOP GROUPS IN NONTHABUREE : CAS STUDY OF HERBAL GROUP WHICH ARE NOT FOOD

The purpose of this research is to study the developing of the competences in marketing of OTOP Groups, Nonthaburee : case study of herbal groups which are not food. It is a Qualitative Research, Documentary Study and In-depth Interview. The research tools were interviews and observation forms. The key informants consisted of 8 entrepreneurs of herbal groups which were not food in Nonthaburee. The collected data was analyzed by content analysis.

From the findings of this research, it was concluded that most of the OTOP products of herbal groups which were not food in Nonthaburee, were shampoo and bath cream, well – known to the people in Nonthaburee and other places. The products derived from local wisdom with the use of local resources available in the area. What seemed to be problems were the lack of knowledge and understanding in developing the products themselves, the packaging, the brands, or even the marketing. Moreover, the OTOP network was still not strong enough. They lack the cooperation of the teamwork, budget to carry on projects, or even the support from the government or private sectors both from the central part or within Nonthaburee continuously.

Regarding the developing of the competences, the entrepreneurs worked together in setting up the network of the herbal OTOP groups which are not food in order to empower them to negotiate with the distributors and the other units that organize the events the OTOP products. Since all of the OTOP products of the groups have something in common, the most distinctive characteristic ones were chosen for advertising as groups or network. For those products of the same kind, only the product with the most distinctive characteristic one was chosen to be presented. The database of the OTOP entrepreneurs of herbal groups which are not food was set up to be used for advice, or for information for resources for selling. Besides, logos had to crated to be well – known to all consumers.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)