รูปแบบการบริหารจัดการผู้ประกอบการ ของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง
Main Article Content
Abstract
ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง จุดแข็ง คือ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ และหลักในการทำงาน จุดอ่อน คือ บุคลากรบางคนของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ เครือข่ายภาคเหนือตอนล่างยังขาดประสิทธิภาพ โอกาสคือการได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนเป็น อย่างดีจากรัฐบาล ส่วนอุปสรรค คือการสร้างกลุ่มเครือข่ายของผู้ประกอบการแต่ละประเภทธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการผู้ประกอบการ การวางแผน คือ มีการจัดการวางแผนโครงสร้าง มีการมอบหมาย อำนาจ หน้าที่ ภาระงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจนภายในเครือข่าย การจัดการองค์การ คือ โครงสร้าง เครือข่ายที่ชัดเจนมีคณะกรรมการ 2 ฝ่ายคือ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการดำเนินงาน ภาวะผู้นำ คือ ผู้บริหารของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจเครือข่ายภาคเหนือตอนล่างมีสภาวะผู้นำที่ค่อนข้างสูง มี วิสัยทัศน์ในการบริหารงาน การควบคุม คือ มีการจัดประชุมรายงานผลการดำเนินงานต่อประธาน เครือข่าย
รูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารจัดการผู้ประกอบการของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจเครือข่าย ภาคเหนือตอนล่าง คือขั้นแรก มีการวางโครงสร้างการบริหาร โครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบ มีกฎ กติกา ประกาศ คำสั่ง ระเบียบในการดำเนินงานเครือข่าย ขั้นที่สองการจัดการความรู้ร่วมกัน มีการ แลกเปลี่ยน เรียนรู้จากงานวิจัย องค์ความรู้ นวัตกรรมของมหาวิทยาลัยในเครือข่าย ขั้นที่สามการสร้าง เครือข่ายการทำงานร่วมกันในระดับเครือข่าย การสร้างความร่วมมือที่ดีในระดับเครือข่ายที่เข้มแข็งใช้การประสานงาน การเชื่อมต่อร่วมมืออย่างจริงใจ ซื่อสัตย์ ต่อเนื่อง ขั้นที่สี่การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นในการ ดำเนินการของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง มีการสื่อสารที่รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วนใน การส่งข้อมูล ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ ขั้นที่ห้าการส่งเสริมและสนับสนุนจากรัฐบาลโดยสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษามีการสนับสนุนทุกด้านของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจเครือข่ายภาคเหนือ ตอนล่างอย่างต่อเนื่อง ขั้นที่หกการควบคุมการดำเนินการของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจเครือข่าย ภาคเหนือตอนล่าง มีการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของเครือข่ายโดยคณะ กรรมการบริหารของเครือข่ายอย่างเป็นระบบชัดเจนต่อเนื่อง
THE MANAGING MODEL FOR THE INCUBATOR OF LOWER NORTH UNIVERSITY BUSINESS INCUBATOR
This research aimed to study potentiality and management of Lower North University Business Incubator. This study was qualitative research. The data was collected from 30 key informants. The research instrument were In-depth interview,observation,and focus group. Acquired data were analyzed by the principle information.
It was found that the potentiality of Lower North Business Incubator unit operating with the strength was the administrator who has the vision and principle ,the weakness was the inefficiency of some personal,the opportunity was the supporting by government,the threat was the creating of incubate clusters. The managing of Lower North University Business Incubator was obvious structure planning,explicit organizing,leadership of administration,and report system controlling.
The managing model for Lower North Business Incubator unit included the first was created obvious administrative structure,the second was learning and knowledge management for research and innovation of University,the third was created clusters in the both system,the fourth was correct and expeditious communication of network,the fifth was Office of the Higher Education Commission incessant supporting,the sixth was pursuring verify and evaluate by incessant controlling.
Article Details
Each publish articles were copyright by Phranakorn Rajabhat University
Any contents which appeared in each articles in the journal were authors personal opinion. It did not relate to Phranakorn Rajabhat University and other instructors in the university. Each authors would take responsibility on their articles. If there are any mistake, the authors will take responsibility themselves