ศักยภาพของชุมชนในการจัดตั้งตลาดน้ำคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

สุพจน์ แสงเงิน
ศรีณัฐ ไทรชมภู
สืบวงศ์ กาฬวงศ์
ประจักษ์ ไม้เจริญ
สำราญ มีสมจิตร

Abstract

การวิจัยเรื่อง ศักยภาพของชุมชนในการจัดตั้งตลาดน้ำคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการจัดตั้งตลาดน้ำคลองพระอุดม และ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดตั้งตลาดน้ำคลองพระอุดม รวมทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการ แก้ไขปัญหาการจัดตั้งตลาดน้ำคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการ วิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอน 5 ขั้นตอน ดังนี้คือ ขั้นตอนที่ 1การศึกษาเพื่อสำรวจความต้องการเบื้องต้นในการจัดตั้งตลาดน้ำคลองพระอุดม ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาสภาพบริบททั่วไปของชุมชนคลองพระอุดม การจัดเวทีชาวบ้านเพื่อทำการ วิเคราะห์ SWOT ในการจัดตั้งตลาดน้ำคลองพระอุดม การศึกษาดูงานนอกสถานที่ การจัดเวทีชาวบ้าน เพื่อนำผลการศึกษามาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ในการจัดตั้งตลาดน้ำคลองพระอุดม

ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนคลองพระอุดมมีศักยภาพในการจัดตั้งตลาดน้ำ ลักษณะของชุมชน อยู่ในที่ลุ่มมีแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาพื้นที่ส่วนใหญ่ทำเกษตรปลูกพืชสวน พืชไร่ และ อาชีพรับจ้าง ประกอบไปด้วย 6 หมู่บ้าน ประชากร 5,118 คน โดยมีปัจจัยเชิงบวกในการจัดตั้งตลาด น้ำคลองพระอุดมคือ การเป็นแหล่งที่ตั้งของวัดสะพานสูงซึ่งมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป การมีโบราณสถานและรอยพระพุทธบาทจำลองภายในวัดโปรดเกษ การมีธรรมชาติที่สวยงามสะอาดร่มรื่น การมีวิถีชีวิตที่หลากหลายของชุมชนชาวสวน ชุมชนชาวคลอง และชุมชนชนบท การมีคนไทยเชื้อสายมอญอาศัยในชุมชน การมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และ การมีสภาพแวดล้อมที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา และปัจจัยเชิงลบในการจัดตั้งตลาดน้ำคลองพระอุดม คือ การขาดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ถึงจุดเด่นที่มีในชุมชน การขาดประสิทธิภาพในการจัดการปัญหา เรื่องน้ำทั้งปัญหาน้ำท่วม และปัญหาน้ำเน่าเสีย และสินค้าโอทอปที่ผลิตขึ้นในชุมชนยังไม่หลากหลาย และมาตรฐานการผลิตสินค้ายังไม่ดีเท่าที่ควร ในส่วนของการศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดตั้งตลาดน้ำคลองพระอุดม พบว่า มีปัญหาอุปสรรคดังนี้คือ ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน ปัญหาขยะมูล ฝอยภายในชุมชน ปัญหาน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ปัญหาการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ถึงจุดเด่นที่มี อยู่ในชุมชน และปัญหาการขาดการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการขาดการฟื้นฟู และบำรุงรักษาโบราณสถานที่มีคุณค่าในชุมชน สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการ จัดตั้งตลาดน้ำคลองพระอุดมคือ มีแผนแม่บท แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชุมชน แนวทางการ พัฒนาการกำจัดขยะมูลฝอยและน้ำเสีย การพัฒนาการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการและ พัฒนาพื้นที่ และการพัฒนาการประชาสัมพันธ์

 

COMMUNITY POTENTIALS FOR PAKKRET DISTRICT’S KHLONG PHRAUDOM FLOATING MARKET ESTABLISHMENT IN NONTHABURI PROVINCE

The research entitled Community Potentials for Pakkret District’s Khlong Phraudom Floating Market Establishment in Nonthaburi Province, has its purposes to study the community potentials, factors, problems, as well as problem solutions on the establishment of Pakkret District’s Khlong Phraudom Floating Market in Nonthaburi Province. The qualitative research methodology and participatory research methodology were employed in the study through the five steps of research process, i.e. step 1 surveying the basic needs of the community for Khlong Phraudom Floating Market establishment ; step 2 investigating the general context of Khlong Phraudom Community ; step 3 engaging the focus group discussion to do the SWOT analysis for the Khlong Phraudom Floating Market establishment ; step 4 organizing a study trip ; and step 5 conducting a focus group to interpreted the data and coming up with a conclusion to apply for the establishment of Khlong Phraudom Floating Market.

The research results revealed that the Khlong Phraudom community has its potentials to establish the floating market with the following positive factors that supported the market establishment, i.e. the elder monk who was very well-known for his magical incantation and revered to all available at Wat Saphansung temple ; the historical remains and the Buddha’s foot-prints were at Wat Prot Ket ; the area surroundings were natural and unpolluted ; the diversity in ways of life of the gardeners community, river-side community, and rural area community ; Thai-born Mons lived in the same community ; natural tourism resources; and all surroundings were by the Chao Phraya River. The negative factors for the establishment of Khlong Phraudom Floating Market were that the concerned organizations lacked publicity for the community’s prominent points as well as the efficiency in management of flood problems and polluted water; the standard and number of OTOP products in the community were very low. The problems for the establishment of Khlong Phraudom Floating Market were about the community infrastructures; the municipal solid waste; polluted water from factories; publicity of the community’s prominent points; natural and environmental protection; and the valuable ancient remains restoration and conservation. The suggestions to solve the problems for the establishment of Khlong Phraudom Floating Market were improving the community’s infrastructures; the area development and management and the publicity improvement.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)