การพัฒนากลุ่มอาชีพสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนในเขตเทศบาลตำบลพุเตย จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

นฤมล พึ่งกิจ
วัชรินทร์ อินทพรหม
เตชิต ตรีชัย
สิริกร ฉัตรภูติ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการของกลุ่มอาชีพ  ศึกษาแนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชน และศึกษาการดำเนินการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนในเขตเทศบาลตำบลพุเตย จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย คือ สมาชิกกลุ่มอาชีพในเขตเทบาลตำบลพุเตย จำนวน 100 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การตีความตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. สภาพการดำเนินการของกลุ่มอาชีพในเขตเทศบาลตำบลพุเตย จังหวัดเพชรบูรณ์ มีการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานด้านข้อย่อย พบว่า ด้านโครงสร้างและกฎระเบียบ มีสภาพการดำเนินงานในระดับมากรองลงมาด้านผู้นำกลุ่มอาชีพ และด้านสวัสดิการสมาชิกและชุมชน ส่วนด้านประสิทธิภาพของการดำเนินงาน มีสภาพการเนินงานอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าภาพรวม

          2.  แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนในเขตเทศบาลตำบลพุเตย จังหวัดเพชรบูรณ์ มีแนวทางในการดำเนินการในด้านการบริหารกระบวนการ เป็นกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำ พัฒนาการบริหารจัดการความรู้และข้อมูล ให้สามารถปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ และติดตามผลการดำเนินการต่อเนื่อง เสริมด้วยแนวทางด้านความตระหนัก สร้างความตระหนักให้กับสมาชิกในกลุ่มอาชีพ ให้คำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการร่วมกลุ่มอาชีพร่วมผลิตสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของภูมิปัญญาในชุมชนของตน ตามด้วยแนวทางด้านการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาสู่การพึ่งตนเองเป็นพื้นฐาน เรียนรู้การปรับวิธีการคิด เทคนิควิธีการใหม่ ๆ นำมาใช้ในการดำเนินการทุกขั้นตอน รวมถึงเรียนรู้การบริหารจัดการในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนากลุ่มอาชีพและแนวทางด้านการมีส่วนร่วม  เน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกเป็นหลัก  รวมถึงชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนตามแผนงานที่กำหนดไว้

          3. การดำเนินการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนในเขตเทศบาลตำบลพุเตย จังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถสร้างคุณสมบัติของกลุ่มอาชีพเสื่อกกตามแนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพเพื่อนำไปขอจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนในเขตเทศบาลตำบลพุเตย จังหวัดเพชรบูรณ์ 

The purposes of this research were to study 1) performance condition of occupational class 2) process to develop the occupational class into community enterprise 3) community enterprise established performance in Phuteoi municipal area, Phetchabun province. Key informants are 23 members of occupational class in Phuteoi municipal area by using the questionnaires and interviews. All data was statistically processed to find percentage, mean, and standard deviation, by analyzing and interpreting for the purposes of research.

          The Study Found That :

          1.The performance condition of occupational class in Phuteoi Municipal Area, Phetchbun Province as a whole is high level. Most implementation is structure and rules; besides, is leader of occupational class, and welfare of community members. Moreover, performance efficiency is moderate level which is lower than whole level.

          2.Process to develop occupational class into community enterprise in Phuteoi municipal area, Phetchabun province have many processes namely; first, leadership development process, data and knowledge managing evolution for implementing and monitoring by objectives continually, and members’ awareness to develop community enterprise to be unique identity as a local wisdom of the community, next, learning for development and self-reliance, applied ideas and new methods in performance, and management is relating to occupational class development, lastly, members participation especially main member’s, community and public organization for efficiency implementation by objectives.

         3. Community enterprise established performance in Phuteoi municipal area, Phetchabun province by grouping of 10 members from many families. It can makes qualification of group for registration the community enterprise in Phuteoi municipal area, Phetchabun province for increasing the income, self-reliance, community benefits. It is not contrary to law and public morality. Community enterprise was established at Wichianburi District Agricultural Extension Office in 7 days after applying for the registration of the enterprises.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กนกพร ฉิมพลี. (2555). ศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา.

กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท วี พริ้นท์.

รัชนี พลซื่อ. (2542). สภาพการณ์ปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารธุรกิจชุมชนในเขตอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด.

วัชรินทร์ อินทพหรม. (2558, กันยายน-ธันวาคม). ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรมสำหรับการวิจัย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 30(10), 23.

วรวิทย์ ศรีสุวรรณ. (2545). สภาพปัญหาการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษาโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์องค์การบริหารส่วนตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

เสรี พงศ์พิศ. (2552). คู่มือการทำวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.

สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เวิลด์เทรดประเทศไทย.

สมยศ นาวีการ. (2538). การบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.

อารี วิบูลย์พงศ์. (2555). ถ่ายทอดเป็นบทความสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยวิสาหกิจชุมชน (ตอนที่สอง)

อังศิกา นพภาลี. (2547). ปัจจัยกำหนดความสำเร็จของธุรกิจกลุ่มทอผ้าชุมชนในภาคอีสานตอนกลาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.