การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน

Main Article Content

อนุวัติ คูณแก้ว

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา มีทั้งหมด 1,680 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและคณาจารย์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จำนวน 224 คน มหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 196 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 560 คน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 140 คน และมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 560 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)   เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน วิเคราะห์องค์ประกอบขั้นต้น โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยวิธีหมุนแกนแบบตั้งฉาก โดยใช้โปรแกรม SPSS for windows และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน  โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72

          ผลการวิจัย พบว่า
          1.  ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ของตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียนได้จำนวนองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษา ด้านการบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากร  ด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ และด้านการพัฒนาหลักสูตร

          2.  ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ของตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน พบว่า โมเดลการวิจัยสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.89 ถึง 1.00   เรียงลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย ดังนี้  ด้านการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษา ด้านการบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากร  ด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ และด้านการพัฒนาหลักสูตร  มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 1.00, 0.94, 0.90 และ 0.89 ตามลำดับ  ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีค่าไค-แสควร์(2) เท่ากับ 780.28  ค่าองศาอิสระ เท่ากับ 757  ค่าความน่าจะเป็น (P-value)  เท่ากับ 0.27  ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI)  เท่ากับ  0.96 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับค่าแล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.93  ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปของคะแนนมาตรฐาน (SRMR)  เท่ากับ 0.02 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA)  เท่ากับ 0.01

The purposes of this research were to 1) develop the successful indicators
of educational management of the higher education institute for members of ASEAN community and 2) perform a confirmatory factor analysis of success indicators of educational management of the higher education institute for members of ASEAN community on hypothesis model with empirical data. The sample consisted of 1,680 subjects comprised, 224 administrators and teachers in Autonomous University, 196 administrators and teachers in Public University, 560 administrators and teachers in Rajabhat University, 140 administrators and teachers in Rajamangala University of Technology, and 560 administrators and teachers in Private University were selected
by stratified random sampling technique. The research instrument was successful indicators of educational management of the higher education institute for member of ASEAN community questionnaires. Data were analyzed by means of exploratory factor analysis with orthogonal rotation method using SPSS for windows and confirmatory factor analysis using LISREL version 8.72.

          The results of the research were as following:

          1. The exploratory factor analysis showed that there were four factors in the successful indicators of educational management of the higher education institute for members of ASEAN community, i.e. teaching and student development, management and staff development, research and creative work and curriculum development.

          2.  The results of confirmatory factor analysis of model in the successful indicators of educational management of higher education institute for members of ASEAN community were found that model was fitted with empirical data. Ranging from the highest factor loading value to the lowest, they were from 0.89 to 1.00 respectively: teaching and student development, management and staff development, research and creative work and curriculum development which the factors were 1.00, 0.94, 0.90 and 0.89 respectively. The construct validity of models was consistent with empirical data, with chi-square goodness of fit test at 780.28 with 757 degrees of freedom; p-value = 0.27; Goodness of Fit Index (GFI) = 0.96; Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.93; Standardized Root Mean Square Residual (SRMR) = 0.02, and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.01

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ (2556). ประชาคมอาเซียน. สืบค้นจาก

http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/asean-media-center-20130104-171510-396945.pdf

วิจารณ์ พานิช และมนัสวี ศรีโสดาพล. (2553). ผลกระทบประชาคมอาเซียน 2558. สืบค้นจาก http://www.tsrt.or.th/index.php?option=com_content&view= article&id=74:-2558. (2556, 25 พฤศจิกายน)

ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย. (2555). ดันมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรอาเซียนศึกษา. สืบค้นจาก www.enn.co.th/news_detail.php?nid=2228.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดบางกอกบล็อก.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2554) . แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2553). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) ระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2554). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตรนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกขา.

สำลี ทองธิว. (2555). หลักสูตรอาเซียนเพื่อการรู้อาเซียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14(3), 95 - 106