การใช้รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา

Main Article Content

ฐิตินันท์ - พูลศิลป์
สุพรรณริกา วัฒน์บุณย์
สมโภชน์ พนาวาส

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนโดยวิธีการสอนรูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนและวิธีการสอนแบบปกติ 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการสอนรูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลาที่มีต่อการเรียนการสอนพูดภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนและแผนการสอนแบบปกติ แบบวัดความสามารถทักษะการพูด แบบประเมินทักษะการพูดและแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่นและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนสูงกว่านักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษหลังการเรียนด้วยรูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความคิดเห็นที่มีต่อการสอนพูดภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียน คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 อยู่ในระดับมาก          

         The purposes of this research were to: 1) compare the English speaking comprehension ability after using Talents Unlimited model and conventional teaching, 2) compare the English speaking comprehension ability before and after using Talents Unlimited model, and 3) study the students’ opinion towards applying the Talents Unlimited model in speaking skill. The samples were 40 first year students of Institute of Physical Education Yala campus. The research tools consisted of Talents Unlimited model and conventional teaching lesson plans, English comprehension speaking test, speaking rubric and a questionnaire on students’ opinion. Data were analyzed by using mean, standard deviation, Alpha coefficient, and t-test.

          The research were found that the speaking comprehension ability after using Talents Unlimited model was higher than conventional teaching significantly at the .05 level. The speaking comprehension ability after using Talents Unlimited model was increased more than before applying model significantly at the .01 level. The students’ opinion towards applying Talents Unlimited model in speaking skill was at high level with average score as 3.76.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)