THE CASUAL EFFECT OF ORGANIZATIONAL CULTURE AND QUALITY OF WORKING LIFE FACTOR ON EMPLOYEE COMMITMENT OF PROVINCIAL ELECTRICITY AUTHORITY

Main Article Content

วิไลพรรณ ตาริชกุล
เกรียงไกรยศ พันธุ์ไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านวัฒนธรรมการทำงาน ปัจจัย ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน กับความผูกพันของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยด้านวัฒนธรรมการทำงาน ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่มีต่อความผูกพันของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเพื่อหารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านวัฒนธรรมการทำงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน กับความผูกพันของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคประชากรเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เพื่อให้ได้เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิด ทฤษฎี และนิยามปฏิบัติการ ซึ่งมีเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 1) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านวัฒนธรรมการทำงาน ด้าน
คุณภาพชีวิตในการทำงาน กับความผูกพันของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน ซึ่งเป็นค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางโดยทำการวิเคราะห์ตามสมการโครงสร้างของแบบจำลองความสัมพันธ์ และทำการวิเคราะห์หาค่าอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรอิสระทุกตัวที่มีต่อตัวแปรตาม


ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแปรอิสระทุกตัวคือวัฒนธรรมการทำงาน และคุณภาพชีวิตในการทำงานทุกด้าน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับตัวแปรตามคือความผูกพันของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2) ตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยเรียงตามลำดับความสำคัญคือ คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความเป็น
ประโยชน์ต่อสังคม คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานและด้านอื่น ๆ วัฒนธรรมการทำงานเน้นพันธกิจ และคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ และ 3) วัฒนธรรมการทำงานเน้นพันธกิจ วัฒนธรรมการทำงานเน้นโครงสร้างและกฎระเบียบวัฒนธรรมการทำงานเน้นการปรับตัว และวัฒนธรรมการทำงานเน้นการมีส่วนร่วม มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความผูกพันของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยส่งผ่านคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานและด้านอื่น ๆ และคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Allen, N.J. & Meyer, J.P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative
commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 12(63), 1-18.
Barney, J.B. (1986). Organizational culture: can it be a source of sustained competitive advantage? Academy of Management Review. 11(3), 656–665.
Beeri, I., Dayan, R., Vigoda-Gadot, E. & Werner, S. (2013). Advancing ethics in public organizations: the impact
of an ethics program on employees perceptions and behaviors in a regional council. Journal of Business
Ethics, 112(1), 59-78
Cameron, K.S. & Quinn, R.E. (1999). D i a g n o s i n g a n d c h a n g i n g organizational culture: based on
the competing values framework. Massachusetts: Addison-Wesley.
Chalofsky, N. (2003). Meaningful work : This part 1 in a three-part series focuses on the classicTheories and
new studies on why people need meaningful work and the implications for organizations. T & D, 57(12),
270-285.
Daft, R.L. (2008). The Leadership Experience. 4th ed. Mason, O.H.: Thomson/South-Western.
Hoonakker, P., Marian, A. & Carayon, P. (2003). The relation between job characteristics and quality of working
life : the role of task identity to explain gender and job type differences. Proceedings of the Human Factors
and Ergonomics Society 48th Annual Meeting, New Orleans, Louisiana, 20, 1571-1575.
Kanjanawasee, S. (2007). Multilevel analysis. 4th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)
Kinicki, A. & Kreitner, R. (2009). Organizational behavior: key concepts, skills & best practices. 4th ed. Boston: McGraw-
Hill Irwin.
Lawal, O. & Oguntuashe, K. (2012). Impacts of organizational leadership and culture on organizational trust: Role
of job cadre. IFEPsychologia, 20(1), 394-402.
McShane, S.L. & Von Gilnow, M.A. (2009). Organizational behavior. 2nd ed. NY: McGraw-Hill.
Newstrom, W.J. & Davis, K. (2007). Organizational behavior: human behavior at work. 12th ed. Boston:
McGraw-Hill Irwin.
Schein, E. H. (1999). The corporate culture survival guide. San Francisco: Jossey-Bass.
Punyaratabandhu, S. (2014). Research methodology for public administration. 14th ed. Bangkok: Sema Dharma. (in Thai)
Steers, R.M. (1997). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science
Quarterly. 22, 46-56.
Steers, R.M. & Porter, L.W. (1991). Motivation and work behavior. New York : McGraw-Hill.
Stone, R. J. (2008). Managing human resources. 2nd ed. New York : Free Press.
Taylor Nelson Sofres. (2004). Employees. Retrieved April 2, 2013, from http:// bcaudito.com/PUBS/2002-03/
Replort1/sec.html
The WHOQOL Group. (1995). The world health organization quality of life assessment (WHOQOL): position
paper from the world health organization. Social Science and Medicine, 41(10), 1403-1409.
Ulrich, D. (1997). Human resource champions: the next agenda for adding value and delivering results. Boston: Harvard
Business School Press.
Walton, L. (1975). Criteria for quality of working life the quality of working life. NY: The Free Press.
Werther, W.B. Jr. & David, K.A. (1995). Human resources and personnel management. 5th ed. New York :
McGraw-Hill.
Wyatt, T.A. & Wah, C.Y. (2001). Perceptions of QWL: a study of Singaporean employees development. Research
and Practice in Human Resource Management, 9(2), p.59-62.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed. NY: Harper and Row.