การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

เดช บุญประจักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่เลือกเรียนกิจกรรมชุมนุมคณิตศาสตร์ ในชั่วโมงชุมนุม ปีการศึกษา 2560 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ฯ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแบบสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที การวิจัยดำเนินการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ฯ ยึดแนวทางและกระบวนการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย ด้วยกิจกรรมให้ความรู้ ฝึกทักษะแล้วนำความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหา ผ่านกระบวนการแก้ปัญหา และกิจกรรมที่กำหนดสถานการณ์ปัญหาแล้วให้นักเรียนศึกษา เรียนรู้ และหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันเป็นลักษณะของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ฯ (1.1) ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต 20.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.44 ค่าเฉลี่ยเลขคณิตโดยรวม คิดเป็นร้อยละ 67.90 ของคะแนนเต็ม 30 คะแนน (1.2) จำนวนนักเรียนที่สอบได้คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไป มี 22 คน คิดเป็นร้อยละ 81.48  ซึ่งมากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (1.3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์กับเกณฑ์ร้อยละ 60 พบว่า สูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2. ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ฯ โดยรวม นักเรียนเห็นด้วยในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า เห็นด้วยในระดับมากทุกข้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Cerezo, N. (2004). Problem – based learning in the middle school: a research case study of the perceptions of at – risk females. Research in Middle Level Education. Online, 27(1). Retrieved May 27, 2009, from https://www.nmsa.org/Publications PMLE Online/tabid/101/Default.aspx

Elshafei, D. L. (1998). A comparison of problem - based and traditional learning in algebra II. Dissertation Abstracts. Retrieved April 20, 2009, from www.thailis.uni.net.th/dao/detail.nsp. html

Gijselears, W. H. (1996). Connecting problem-based practices with educational theory. In L. Wilkerson & W.H. Gijselears (eds.). Bringing Problem – Based Learning to Higher Education: Theory and Practice. San Francisco: Jossey – Bass.

Kamanee, T. (2007). Science of teaching. 6th edition. Bangkok: Chulalongkorn University printing press. (in Thai)

National Institute of Educational Testing Service: NIETS (Public Organization). (2016). The statistic of ONET score from Grade 9 & 12 in the Academic Year 2014-2016.

Retrieved September 13, 2017, from https://www.niets.or.th/uploadfile /5/371f1b3becb7870d1eb40e3d46ef0ac.pdf. (in Thai)

Office of the Education Council. (2007). Problem-based learning management. Bangkok: Office of the Education Council, Ministry of Education, (in Thai)

Pimwan, M. (2006). The instructional package using problem-based learning on the surface areas at Mathayomsuksa III. Master Thesis, Graduate School Srinakharinwirot University, Bangkok. (in Thai)

Thongsugnok, R. (2004). The instructional package using problem-based learning on the number theory at Mathayomsuksa IV. Master Thesis. Graduate School Srinakharinwirot University, Bangkok. (in Thai)