การดำรงอยู่ทางวัฒนธรรมของภูมิปัญญาผ้าย้อมคราม : กรณีศึกษากลุ่มทำผ้าย้อมคราม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

พรรณวดี ศรีขาว

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาการดำรงอยู่ การปรับตัวและการสร้างสรรค์ของภูมิปัญญาผ้าย้อมครามในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จากอดีตจนถึงปัจจุบันผลการวิจัยพบว่า ในอดีตชาวบ้านใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตผ้าย้อมครามเพื่อใช้ในครัวเรือนเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมในยุคต่อมาส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นไม่นิยมใช้และผลิตผ้าย้อมคราม ผ้าย้อมครามจึงลดความนิยมลงจนเกือบเลือนหายไปจากชุมชน แต่ด้วยการรื้อฟื้นประยุกต์ และอนุรักษ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ทำให้ผ้าย้อมครามกลับมาเป็นที่นิยมในท้องถิ่นอีกครั้งและด้วยกลไกของท้องถิ่นนิยมไปจนถึงกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้ผ้าย้อมครามถูกยกระดับมาเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและยังเป็นผ้าพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมจากผู้คนที่อยู่นอกชุมชนกลุ่มชาวบ้านจึงมุ่งผลิตผ้าย้อมครามเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดผู้บริโภค โดยอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาเป็นรากฐานในการสร้างสรรค์ลวดลาย สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และสร้างสรรค์เรื่องเล่า ปัจจุบันผ้าย้อมครามจึงนับว่าเป็นผ้าพื้นเมืองที่แสดงอัตลักษณ์และความภาคภูมิใจในความ
เป็นท้องถิ่นที่สะท้อนวิถีชีวิตเกษตรกรรม ธรรมชาติและความเชื่อ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Bascom, W. (1965). Four functions of folklore. in Alan Dundes (ED.). The Study of folklore. NY: Vintage Book, pp.279-298. Cited in Nathalang, S. (2005). Theory of folklore: methodologies in analyzing myth and folktales. Bangkok: Faculty of Arts, Chulalongkorn University. (in Thai)

Daengjai, P. (2016). Interview on April 29, 2016. (in Thai)

Department of Intellectual Property. (2015). The Geographical indication registration of natural indigo dye of Sakon Nakhon. (Photocopied document) (in Thai)

Hanamoraset, T. (2003). The Dynamics of local cloth weaving: a case study of Pha Sin Tin Jok of \Ban Na Thalay, Amphoe Laplae, Uttaradit Province. Master’s Thesis (Thai Studies), Naresuan University. (in Thai)

Kaewsong, B. (2012). Locality and community-based research of cultural ecology. pp 12-13. (Photocopied document) (in Thai)

Khiaoraksa, A. & Saithong, A. (2010). The project to bring wisdom to the children. Sakon Nakhon: Sakon Nakhon Rajabhat University. (in Thai)

Khotphrom, P. (2016). Interview on March 13-15, 2016. (in Thai)

Kuljittiwirach, S. (2012). Knowledge Management of Indigo Dye Cloth Weaving in Ban Non-Sa-at, Na Ngua Sub-District, Nawa District, Nakhon Phanom Province. Master of Agriculture (Agricultural Extension and Development), Sukhothai
Thammathirat Open University. (in Thai)

Prangwatthanakul, S. & Seamen, P. (1999). Tai Lue textiles: cultural reproduction, folklore with Thais – Tai: Incorporation of Folklore. Articles in a Social Context. Bangkok: Faculty of Arts, Chulalongkorn University. (in Thai)

Samutthakhup, S. & Kittiarsa, P. (Editors). (1993). Culture and society in Isan of Thailand: Cultural Anthropology articles. Nakhon Ratchasima: Anthropological Museum of Northeastern Project, Institute of Social Technology of Suranaree University of Technology Nakhonratchasima. (in Thai)

Yampochai, K. (2007). Role of cultural capital and community economic development in Thambon Takook, Amphoe Ban Tak, Changwat Tak. Social Department, Interdisciplinary Graduate. Kasetsart University. (in Thai)