การดำรงอยู่ของพุทธภาวะ

Main Article Content

จุฬารัตน์ วิชานาติ

บทคัดย่อ

พุทธภาวะ เป็นหลักการสูงสุดคนละด้านของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทและมหายาน ซึ่งทั้งสองนิกายมีความเห็นขัดแย้งกันในแง่ของหลักการและการตีความ พระพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งเป็นนิกายดั้งเดิม ยอมรับพุทธภาวะในความหมายของผู้บำเพ็ญตนเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า หรือสภาวธรรมที่หลุดพ้นจากทุกข์ ซึ่งจำกัดความเฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น ปฏิเสธพุทธภาวะในลักษณะที่เป็นอัตตา ส่วนพระพุทธศาสนามหายาน ยอมรับพุทธภาวะในความหมายที่เป็นแก่นแท้ของจิตหรือจิตบริสุทธิ์ มีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ทุกกาลเวลา ทุกสรรพสิ่ง และสรรพสัตว์ ดำรงอยู่ในภาวะที่ยั่งยืน ความขัดแย้งดังกล่าว นำไปสู่ข้อพิพากษ์เชิงปรัชญาดำเนินมาหลายศตวรรษ ปัจจุบันทั้งสองนิกายพยายามแสวงหาจุดร่วม ไม่แสดงเหตุผลและเงื่อนไขอันนำไปสู่ความขัดแย้ง เปิดใจกว้างเพื่อยอมรับเหตุผลของกันและกันมากขึ้น อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของพระพุทธศาสนาในอนาคตสืบไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เสถียร โพธินันทะ. (2548). ปรัชญามหายาน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิชวิทยาลัย.

เสถียร พันธรังสี. (2549). ศาสนาเปรียบเทียบ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

ประยงค์ แสงบุราณ. (2548). พระพุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (ม.ป.ท.). คำสอนฮวงโป. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (ม.ป.ท.). สูตรเว่ยหลาง. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมจินต์ สมาปญฺโญ. (2547). อารยธรรมพระพุทธศาสนาในทิเบต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2542). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ละอองดาว นนทะสร. (2561). แนวคิดเรื่อง “ตถาคตครรภ์ ในคัมภีร์รัตนโคตรวิภาค”. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 7 (2), 305-326.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2546). พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม.