อริยมรรคมีองค์ 8 กับการหลุดพ้นจากกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
มรรคจึงเป็นหลักกลางในการประพฤติปฏิบัติตามองค์ประกอบภายในมรรคให้ครบองค์ เพื่อให้ถึงซึ่งเป้าหมายแห่งความดับทุกข์ และหลุดพ้นจากกรรม มรรคมีความสำคัญในหลายแง่ กล่าวคือ มรรคในฐานะมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติสายกลางแห่ง ชีวิตทั้งของบรรพชิตและคฤหัสถ์ หลักปฏิบัติถือเป็นการปฏิบัติพรหมจรรย์ที่เป็นพุทธจริยธรรมนำสู่จุดหมายขั้นต่าง ๆ ของชีวิต อริยมรรคมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อบุคคลที่ได้ปฏิบัติตามทางดำเนินที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ เมื่อปฏิบัติตามแล้ว ได้ประโยชน์ปัจจุบันประโยชน์ด้านคุณค่าชีวิตประโยชน์ที่เป็นสาระแท้จริงของชีวิตรู้แจ้งสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทันคติธรรมดาของสังขารธรรม ไม่ตกเป็นทาสของโลกและชีวิตมีจิตใจเป็นอิสระโปร่งโล่งผ่องใส ไม่ถูกบีบคั้น คับข้องจำกัดด้วยความยึดติดถือมั่นหวั่นหวาดของตนเอง ปราศจากกิเลสเผาลนที่ทำให้เศร้าหมองขุ่นมัว อยู่อย่างไร้ทุกข์ ประจักษ์แจ้งความสุขประณีตภายในที่สะอาดบริสุทธิ์สิ้นเชิงอันประกอบพร้อมด้วยความสงบเยือกเย็นสว่างไสวเบิกบานโดยสมบูรณ์
Article Details
References
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2531). พจนานุกรมพุทธศาสาน์ฉบับประมวลศัพท์ . (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). คำสอนเป็นกลาง ปฏิบัติสายกลาง ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
พระมหาจรรยา สุทธิญาโณ. (2548). พุทธวิถี. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร (พรรณา). (2543). ทิฏฐิ ; ความเห็นความเชื่อที่ชี้นำชีวิตและสังคม.
พระรัตนสุวรรณ. (2538). สมาธิและวิปัสสนา ในชีวิตประจำวัน สำนักค้นคว้าทางวิญญาณ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ.
อัมพร หุตะสิทธิ์. (2546). กรรม 12 และการให้ผล. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเกริก.
Hermits. (1998). The insights’ of Solitude. New York : St Martin is Press.
Nyanatiloka. (1980). Bhddhist Dictionary Manual of Buddhist Terms and Doctrines. Kandy : Buddhist Publication Society.