ความโลภ : การแก้ปัญหาในสังคมปัจจุบันตามหลักพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูสมุห์สมชาย สิริสมฺปนฺโน
พระณัฐพงษ์ สิริสุวณฺโณ (จันทร์โร)
ทิพย์วรรณ จันทรา

บทคัดย่อ

ปัญหาสังคมที่เกิดจากความโลภของคนในปัจจุบันกับในอดีตที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทมีพฤติกรรมเหมือนกัน คือ การละเมิดศีล 5 ซึ่งส่งผลกระทบให้บุคคลผู้กระทำและสังคมต้องเดือดร้อน เมื่อมองในแง่ของวงจรปฏิจจสมุปบาท คือ กิเลส กรรม วิบาก จะพบว่า กิเลสคือ ความโลภเป็นเหตุให้อยากได้ในทางที่ผิดศีลธรรม กรรมเป็นส่วนของการกระทำทุจริต และวิบากเป็นส่วนที่ต้องรับผลของการกระทำ เช่น ถูกจับดำเนินคดีตามกฎหมาย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่าองค์ธรรมที่สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้เป็นวิธีการแก้ปัญหาความโลภในสังคม คือ ทาน การให้วัตถุสิ่งของต่าง ๆ แก่ผู้อื่นเพื่อตัดความโลภความตระหนี่ออกจากใจ ศีล เป็นข้อห้ามทางกายวาจาเพื่อการไม่ละเมิดในทรัพย์สินและบุคคลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น การบรรเทาความโลภและส่งเสริมการลดละความโลภเพื่อสันติสุขแก่สังคม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

A.S.Hornby. (1997). Dictionary of Current English. Great Britain : Antony Rowe Ltd, Chippenham, Wiltshire.

Brophy, Jere. (1986). ON MOTIVATINGSTUDENTS. Occassional Paper No. 101. East Lansing, Michigan: lnstitute for Research on Teaching, Michigan State University.

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2539). ศาสนาปรัชญาประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : บริษัท คอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด.

จำลอง ดิษยวณิช. (2544). จิตวิทยาของความดับทุกข์. เชียงใหม่ : กลางเวียง การพิมพ์.

เชอเกียม ตรุงปะ. รินโปเช. (2528). ลิงหลอกเจ้า ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระคันธสาราภิวงศ์. (2549). โพธิปักขิยธรรม. กรุงเทพมหานคร : บุญศิริการพิมพ์.

พระเทพดิลก (ระแบบิตญาโณ). (2535). อธิบายหลักธรรมตามหมวดจากนวโกวาท. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2550). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรมฉบับขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระภาสกร ภูริวฑฺฒโน (ภาวิไล). (2548). ปฏิจจสมุปบาทสำหรับคนรุ่นใหม่. เชียงใหม่ : บริษัทนันทพันธ์พริ้งติ้ง จำกัด.

พระมหาสุวิทย์ วิชฺเชสโก. (2541). ทานก้าวแรกแห่งการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบิตญาโณ). (2539). ธรรมปริทรรศน์ 2. อธิบายธรรมวิภาค ปริเฉทที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาธีรพล สุขแสง. (2546). การศึกษาคำสอนเรื่องกิเลสในพระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พันตรีประยุทธ์ หลงสมบุญ. (2540). พจนานุกรม มคธ – ไทย. กรุงเทพมหานคร : อาทรการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

วศิน อินทสระ. (2549). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมดา.

สุพัตรา สุภาพ. (2535). ปัญหาสังคม. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2525). ทศบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน พระราชวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสง จันทร์งาม. (2512). พุทธศาสนาวิทยา. กรุงเทพมหานคร : บรรณาคาร.