การบริโภคมังสะวิรัติในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูอนุกูลกัลยาณกิจ, ดร. .
พระณัฐพงษ์ สิริสุวณฺโณ (จันทร์โร)
ทิพย์วรรณ จันทรา

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาและวิพากษ์การบริโภคมังสวิรัติของพระพุทธศาสนามหายานกับพระพุทธศาสนาเถรวาท การศึกษาพบว่า การกินอาหารของพืชและสัตว์ตามสัญชาตญาณการอยู่รอดและสืบเผ่าพันธุ์ ไม่ถือเป็นความขัดแย้งทางศีลธรรม เพราะไม่ถูกนำพฤติกรรมไป วัดค่าทางศีลธรรมแต่อย่างใด พระพุทธศาสนามหายานปฏิเสธการบริโภคเนื้อในหมู่พระสงฆ์โดยเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นการสนับสนุนให้เกิดการฆ่าสัตว์ไม่มีที่สิ้นสุด ฝ่ายพระพุทธศาสนาเถรวาทวาทมองว่า การบริโภคเนื้อสัตว์เป็นสิ่งทำได้ เนื่องจากกิริยาของการบริโภคกับการฆ่าเป็นกรรมคนละอย่างกัน แม้ในหมู่พระสงฆ์ก็สามารถบริโภคเนื้อได้ ภายใต้กรอบของการบริโภคเนื้อ 3 ประการ คือ เป็นเนื้อที่ภิกษุไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้เกิดความสงสงสัยว่า มีคนฆ่าเพื่อตน พระพุทธศาสนามหายาน เชื่อว่าพืชเป็นสิ่งมีวิญญาณ การฆ่าพืชจึงเป็นการพรากชีวิตเหมือนการฆ่ามนุษย์และสัตว์ แต่เป็นบาปน้อยกว่า มหายานจึงเลือกกินพืชที่มีอายุสั้น ส่วนพุทธศาสนาเถรวาทมองว่า การฆ่าพืชไม่เป็นบาป แต่ถึงกระนั้น ก็มีข้อห้ามมิให้ภิกษุพรากของเขียว แต่เหตุผลในการห้าม เป็นเหตุผลทางสังคมมากกว่าที่จะเป็นบาป ทางสายกลางของการบริโภค มหายานเลือกบริโภคอาหารมังสวิรัติ เพราะเห็นว่าเป็นการเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตน้อยที่สุด ฝ่ายเถรวาทมุ่งความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย บริโภคอาหารที่ชาวบ้านเห็นว่าสมควรและมีกำลังจัดถวายได้ มหายานเห็นว่า การบริโภคมังสวิรัติเป็นการฟอกจิตให้บริสุทธิ์ และมุ่งมหากรุณาต่อสัตว์ทั้งหมด ส่วนฝ่ายเถรวาทมองว่า จิตมนุษย์สามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ โดยไม่ขึ้นกับ การบริโภคมังสวิรัติ หรือเนื้อสัตว์แต่อย่างใด
คำสำ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ติช นัท ฮันห์. (2544). เพชรตัดทำลายมายา. แปลโดย สดใส ขันติวรพงษ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศยาม.
จิตรา ก่อนนันทเกียรติ. (2544). ตึ่งหนั่งเกี้ย. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพมหานคร : แพรวสำนักพิมพ์.
ธีรยุทธ สุนทรา. (2540). พุทธศาสนามหายานในประเทศไทยจีนนิกายและอนัมนิกาย, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2540). มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร : มหามกุฎราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2540). พระธัมมปทัฏฐกถา แปลภาค 6. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2535). วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2549). พุทธประวัติจากพระโอษฐ์. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมโมลี (วิลาสาณวโร). (2543). กรรมทีปนี เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้า.

พระเมธีวราภรณ์. (ยุ้ย อุปสนฺโต). (2549). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. ราชบุรี : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

สนิท ศรีสำแดง. (ม.ป.ท.). พุทธปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : นีลนาราการพิมพ์.

สมภาร พรมทา. (2543). พุทธปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศยาม.

อาจารย์ชิงไห่ปาฐกถา. (ม.ป.ท.). กุญแจสู่การรู้แจ้งในทันที เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

พระครูอนุกูลกัลยาณกิจ. รายงานประจำวิชาสัมมนาพระไตรปิฎก. นิสิตปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ภาคเรียนที่ 1/1 ปีการศึกษา 2552.

สมจิตรา กิตติมานนท์. สารนิพนธ์ การบริโภคมังสวิรัติกับการพัฒนาชีวิตในพระไตรปิฎก. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2551.

พระมหาปรทัตติ ปรทตฺตูปชีวี (ยาทองไช). การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวพระวินัยปิฎก. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : 2550.