ศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางพระพุทธศาสนา กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในจังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

พระภิทักษ์ วชิรวํโส (สุนา)
พระราชรัตนาลงกรณ์, ดร. .
พระครูจิรธรรมธัช, ผศ.ดร. .

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยตามหลักภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดบึงกาฬ และ 3) เพื่อศึกษาผลการประยุกต์วิธีการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางพระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดบึงกาฬ ผลการวิจัยพบว่า วิธีการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางพระพุทธศาสนา มี 2 ประการคือ การดูแลผู้ป่วยทางกายด้วยเภสัช 5 และสมุนไพร และการดูแลผู้ป่วยทางใจด้วยธรรมโอสถ รูปแบบวิธีการดูแลผู้ป่วยตามหลักภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดบึงกาฬ พบว่า มีวิธีการดูแลผู้ป่วยโดยใช้หลักธรรมมานามัย 3 ประการ คือ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย ผลการประยุกต์วิธีการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางพระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดบึงกาฬ พบว่า การดูแลผู้ป่วยตามแนวทางพระพุทธศาสนา เป็นพุทธวิธีการรักษาเน้นดูแลจิตใจจากภายในสู่ภายนอก ส่วนการรักษาผู้ป่วยตามหลักภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดบึงกาฬ เป็นการอาศัยความเชื่อทางพระพุทธศาสนาบูรณาการกับการรักษาด้วยสมุนไพรท้องถิ่น ทั้งจากภายในสู่ภายนอก และจากภายนอกสู่ภายใน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นันทนัช ชาวนาทุ่ง. (2525). การศึกษาเปรียบเทียบกการบาบัดโรคโดยใช้วิธีการทางศาสนาระหว่าง ผู้นับถือศาสนาพุทธและคริสต์. ใน วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประไพ เพิ่มกสิกรณ์. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยตามแนวพระพุทธศาสนา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูอินทสารวิจักษ์ (กิจไร่). (2551). ศึกษาการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรและธรรมโอสถที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.