การส่งเสริมจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ (รัชกาลที่ 10) ของโรงเรียนอนุบาลบ้านคอกช้าง อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

สังคม ประเสริฐสังข์
พระครูสมุห์หัตถพร คำเพชรดี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับจิตอาสาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนอนุบาลบ้านคอกช้าง 2) เพื่อเปรียบเทียบจิตอาสาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนอนุบาลบ้านคอกช้าง จำแนกตาม อายุ เพศ และระดับชั้นเรียน ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านคอกช้าง ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง  จำนวน 72  คน เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test)  หรือความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับจิตอาสาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนอนุบาลบ้านคอกช้าง อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านการเสียสละ  มีค่าเฉลี่ยสูดสุดเท่ากับ 4.21 รองลงมาคือด้านการช่วยเหลือผู้อื่น  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20  และด้านความมุ่งมั่นพัฒนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบ       จิตอาสาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนอนุบาลบ้านคอกช้าง อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย ดำเนินการโดย ทดสอบสมมติฐานหาค่าความแตกต่างระหว่างตัวแปร      กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกัน, เพศต่างกัน และระดับชั้นเรียนต่างกัน มีเรื่องการส่งเสริมจิตอาสา จิตสาธารณะ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอสาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รวมรอง คนซื่อ. (2560). รูปแบบการพัฒนาจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับครูในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา เขต 3 จังหวัดกาฬสินธุ์. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ 13 ฉบับพิเศษ เล่ม 2 มิถุนายน 2560.

ศิริพิมล รักษามิตร์. (2558). การศึกษาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ .

สุนทรี จูงวงศ์สุข. (2548). การใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อสร้างเสริมลักษณะนิสัยจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภะรัฐ ยอดระบำ. (2554). ปัจจัยด้านครอบครัวและจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเกิดจิตสาธารณะของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

อรนุช แสนสุข. (2557). การศึกษาจิตอาสาทางสังคมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์. การประชุมสัมมนาเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 8. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

อรพิมท์ ชูชม และคณะ. (2549). การวิเคราะหปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับจิตสำนึกทางปัญญาและคุณภาพชีวิตของเยาชนไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคินทรวิโรฒ.

กรมวิชาการ. (2542). ศักยภาพเด็กไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: วีพริ้นท์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). เครื่องวัดความเจริญของชาวพุทธ (อารยวัฑฒิ). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

วิทยาลัยการทัพบก. (2560). เอกสารประกอบการศึกษา สรุป เทิดพระเกียรติ รัชกาลที่ 10 . กรุงเทพมหานคร: ส่วนการวิจัยและพัฒนาและวิชาการบริหาร วิทยาลัยการทัพบก.

ศุภฑิต สินธินุช. (2550). ระบบการบริหารจัดการอาสาสมัคร ศึกษากรณี : มูลนิธิพุทูฉือจี้ไต้หวัน. นนทบุรี: เชน ปริ้นติ้ง.

ศูนย์คุณธรรม. (2548). ร่วมแรงแข็งขัน ร่วมกันทำดี สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติและตลาดนัดคุณธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแปลนโททิฟ.

อ้อมใจ วงมณฑา และ ประเสริฐ บัณฑิศักดิ์. (2552). จิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.