การพัฒนาการเรียนรู้บูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนน้ำสวยวิทยา อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ประยงค์ อ่อนตา
ธัญญารักษ์ แสงไสย์
อนันต์ คติยะจันทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาการเรียนรู้บูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนน้ำสวยวิทยา อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย  2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาการเรียนรู้บูรณาการกับ     หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนน้ำสวยวิทยา อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย จำแนกตาม เพศ,อายุ และระดับชั้นเรียน โดยเก็บข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6) โรงเรียนน้ำสวยวิทยา  อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย จำนวน 139  ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบ      ค่าเอฟ (F-test)  หรือความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า


1) ระดับความคิดเห็นของนักเรียนกับการพัฒนาการเรียนรู้บูรณาการกับ          หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนน้ำสวยวิทยา อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก  โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้  ด้านการวัดผลการเรียนรู้  มีค่าเฉลี่ย (  gif.latex?\bar{x}= 4.36)  ด้านการนำเสนอสื่อการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}  = 4.30)     ด้านการเตรียมการสอน (  gif.latex?\bar{x}= 4.24) และด้านการสอดแทรกกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย (  gif.latex?\bar{x}= 4.14)    ซึ่งสรุปได้ว่า การพัฒนาการเรียนรู้บูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความครอบคลุมทุกด้านและสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี  2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักเรียนต่อการพัฒนาการเรียนรู้บูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนน้ำสวยวิทยา อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตัวแปร พบว่า ด้านเพศ และด้านระดับชั้นเรียน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนด้านอายุ โดยภาพรวม แตกต่างกัน  ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นภาพรรณ วงค์มณี. (2553). การนำแนวทางปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชน : กรณีศึกษา ชุมชนทรายทอง ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2551). เศรษฐกิจพิเพียงสู่สถานศึกษา (Towards Sufficency Based School) โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.

พจนา ทรัพย์สมาน. (2550). การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภเดช พัฒธาญานนท์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความตระหนักและพฤติกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำหนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถทศึกษานครพนม เขต 1. สกลนคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพ: ห้าหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

อัญญรัตน์ นาเมือง. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อนันต์ คติยะจันทร์. (2560). บทบาทของพระนิสิตที่มีต่อการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 "พุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศไทย" (หน้า 3117). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.