การกล่อมเกลาครอบครัวตามหลักทิศเบื้องหน้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การกล่อมเกลาสมาชิก ในครอบครัวตามหลักทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องหน้าประกอบด้วยบิดามารดา ผู้ให้อุปการะแก่บุตรธิดา และบุตรธิดาผู้ทำหน้าที่ปรนนิบัติต่อบิดามารดาเป็นการตอบแทน เพื่อให้สังคมมีทรัพยากรมนุษย์ที่ดีตามที่สังคมต้องการ บทบาทของบิดามารดาจึงมีอิทธิพลมากต่อการกำหนดพฤติกรรมของบุตรธิดา เพราะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับบุตรธิดามากที่สุด มีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูตั้งแต่แรกเกิด เป็นคนแรกที่มีบทบาทในการปลูกฝังค่านิยมต่อบุตรธิดา และมีบทบาทในการถ่ายทอดพฤติกรรมต่อบุตรธิดามากที่สุด เพื่อให้บุตรธิดาได้เติบโตขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ บิดามารดาจึงต้องเข้าใจบุตรธิดา ให้ความรักความอบอุ่นอย่างมีเหตุ มีผล และต้องปฏิบัติต่อบุตรธิดาอย่างยุติธรรม เช่น การเลี้ยงดูบุตรธิดาให้เติบใหญ่อย่างมีคุณภาพ สนับสนุนการศึกษา สั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี เป็นต้น ขณะเดียวกันบุตรธิดาก็ต้องแสดงความกตัญญูต่อบิดามารดาในเวลาอันควรด้วย คุณูปการของบิดามารดามีมากมายจนสังคมยกย่องให้เป็นพระพรหมประจำตัวบุตรธิดาที่คอยชี้แนะแนวทางในการดำรงอยู่บนโลกอย่างไรให้มีความสุข ดังนั้น สถาบันครอบครัวจึงเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการขัดเกลา ทางสังคม เพื่อบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ให้เติบใหญ่ขึ้นเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมสืบไป
Article Details
References
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2550). ธรรมศึกษาชั้นตรี ฉบับปรับปรุงใหม่ที่ประกาศใช้ปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพมหานคร: กรมการปกครอง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต : พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชิต.
พัชนี เชยจรรยาย. (2531). รูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวและการเปิดรับสื่อมวลชนของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุพล บุญเกลี้ยง. (2551). ความต่อเนื่องในการทำกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของเยาวชนที่เคยผ่านรายการทุ่งแสงตะวัน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพัตรา สุภาพ. (2540). สังคมวิทยาลัย. กรุงเพทมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
กรมการศาสนา. (2538). คู่มือการศึกษานักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2550). ธรรมศึกษาชั้นตรี ฉบับปรับปรุงใหม่ที่ประกาศใช้ปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพมหานคร: กรมการปกครอง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต : พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชิต.
พัชนี เชยจรรยาย. (2531). รูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวและการเปิดรับสื่อมวลชนของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุพล บุญเกลี้ยง. (2551). ความต่อเนื่องในการทำกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของเยาวชนที่เคยผ่านรายการทุ่งแสงตะวัน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพัตรา สุภาพ. (2540). สังคมวิทยาลัย. กรุงเพทมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.