การกล่อมเกลาสังคมเชิงพุทธตามแนวคิดโคลงโลกนิติในลุ่มน้ำโขง

Main Article Content

พระศิลาศักดิ์ สุเมโธ (บุญทอง)
พรพิมล โพธิ์ชัยหล้า
มิตรธีรา วิสูตรานุกูล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การกล่อมเกลาทางสังคม ซึ่งแฝงอยู่ในโคลงโลกนิติที่มีต่อชุมชนลุ่มน้ำโขง การประพันธ์โคลงโลกนิติมีความเป็นเอกลักษณ์ เน้นสัมผัสตามแบบโคลงสี่สุภาพ โคลงโลกนิติเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่และทรงคุณค่ามาก เป็นโคลงกลอนที่สอดแทรกองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งสอดคล้องกับสังคมที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะสังคมไทยและสังคมลุ่มน้ำโขง เพราะในสังคมดังกล่าว ถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของโลก การนำเอาแนวคิดโคลงโลกนิติมาช่วยจัดระเบียบสังคม จึงเหมาะสมกับบริบทของทุกสังคมในภูมิภาคนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ชุมชนลุ่มน้ำโขงยังมีลักษณะทางประเพณีและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน และประชากรส่วนใหญ่ก็นับถือพระพุทธศาสนาเหมือนกัน จะเห็นได้ว่า องค์ความรู้พิเศษที่สอดแทรกอยู่ในโคลงโลกนิติคือ การค้นพบประเด็นทางพระพุทธศาสนาที่ช่วยกล่อมเกลาสมาชิกในสังคมลุ่มน้ำโขง เพื่อให้สมาชิกทั้งหลายมีประพฤติกรรมตามกรอบของศีลธรรมจริยธรรม และช่วยจัดระเบียบให้สังคมมีความสงบร่มเย็น ภายใต้พุทโธวาทที่เป็นดั่งหัวใจของพระพุทธศาสนาทั้ง 3 ด้าน คือ การทำดี ละเว้นชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แนวทางนี้เป็นกระบวนการที่ปรับเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด ความเชื่อ เจตคติ และค่านิยมทางสังคมทั้งสิ้น ทั้งยังก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดีงามแก่สังคมโดยรวม ดังนั้น โคลงโลกนิติจึงเป็นอีกวรรณคดีหนึ่ง ที่บรรจงสรรค์สร้างสังคมให้น่าอยู่ ช่วยลดความขัดแย้ง และค้ำจุนหนุนนำสังคมสองฝั่งโขงให้มีความปกติสุขตลอดไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

ธนาคารโลก (World Bank). (2561). อัพเดทจำนวนประชากรปัจจุบันของ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่คุณไม่เคยรู้. เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://1url.ws/V63HV.

บรรจบ บรรณรุจิ. (2559). “พระสงฆ์กับการให้ : งานที่สื่อสารมวลชนมองไม่เห็น”. ใน พระพุทธศาสนาอยู่ได้ ทุกสถาบันอยู่รอด. อ่างทอง : วรศิลป์การพิมพ์ 89.

ปถวีธร เพชรสุริยา. (2554). การวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ในโคลงโลกนิติ. ใน ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระเดชขจร ขนฺติธโร (ภูทิพย์). (2561). วิชาฝึกใจให้เลิกทรมานจากความเครียด. กรุงเทพมหานคร : ซี แอนด์ เอ็น บุ๊ค.

พระเทพภิชาติ ปิยธมฺโม (เติบกายา) และคณะ. (2561). หลักยุติธรรมในไตรภูมิพระร่วงต่อชุมชนลุ่มน้ำโขง. วารสารปัญญาปณิธาน, 3(1), 54-62.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2551). ธรรมนูญชีวิต : พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระอริยนันทมุนี (พุทธทาสภิกขุ). (2549). คู่มือมนุษย์ ฉบับปฏิบัติธรรม. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2561). โคลงโลกนิติ. เรียกใช้เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/โคลงโลกนิติ.

วิทยากร เชียงกูล และคณะ. (ม.ป.ป.). โครงการวิจัยเพื่อคัดเลือกและแนะนำหนังสือดีในรอบศตวรรษ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สุปาณี พัดทอง. (2545). โคลงโลกนิติ อมตะวรรณกรรมคำสอน. วารสารวรรณวิทัศน์. 2(2), 64-81.

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์. (2561). วรรณกรรมลุ่มน้ำโขง ธารอักษรสันติภาพ. เรียกใช้เมื่อ 13 พฤษภาคม 2562 จาก https://1url.ws/QD4xR.

Moffitt, Phillip. (2011). The Pursuit of Happiness. Life Balance Institute : CA.