การวิเคราะห์ผลกระทบ จุดแข็ง และจุดอ่อนของการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาว

Main Article Content

บุญส่ง สินธุ์นอก
พระสมุห์กฤติพิสิฐ กิตฺติธมฺโม (จ่าพันธ์)
ฐิติวรรณ สินธุ์นอก
ธวัญหทัย สินธุนอก

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาว และวิจัยเรื่องนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า จุดแข็ง (Strength) คือ การมีแหล่งท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาว มีเอกลักษณ์และตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนและผลักดันให้ธุรกิจการท่องเที่ยวเติบโต การคมนาคมขนส่งสะดวก มีกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวหลากหลาย สอดคล้องกับความเชื่อ ความศรัทธาของประชาชนในท้องถิ่น สามารถท่องเที่ยวได้ทั้งปี มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือสื่อสารและระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เอื้อต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ส่วนจุดอ่อน (Weakness) เป็นเรื่องของการบำรุงรักษาแหล่งท่องเที่ยวที่ยังไม่ดีพอ การประชาสัมพันธ์ยังไม่ดีพอ การดูแลความปลอดภัยและความสะอาดในแหล่งท่องเที่ยวไม่มีประสิทธิภาพ การจัดช่วงเวลาในการท่องเที่ยวไม่แน่นอน สมรรถนะของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวยังไม่ดีพอ ไม่สามารถสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้ตามความเป็นจริง จึงสรุปได้ว่า การศึกษาเกี่ยวกับวิเคราะห์ผลกระทบการท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนดังกล่าวมาแล้ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา.
นุชนาฏ เชียงชัย. (2558). การใช้อัตลักษณ์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรรควันชัย ประถมวงษาและ ดร.สุธิดา แจ่มใส. (2555). บทบาทขององค์กรหน่วยงานตามยุทธศาสตร์ การท่องเที่ยวประเภทเมืองเก่า เทศบาลเมืองคูณ แขวงเชียงขวาง สปปลาว. วารสารสมาคมนักวิจัย, ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน.
พระราชรัตนาลงกรณ์ ดร. และคณะ. (2557). ศึกษาเชิงสำรวจและอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาจังหวัดหนองคาย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์นาคินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พินิจ จารุสมบัติ. (2540). หนองคาย. กรุงเทพมหานคร : บริษัทมังกรการพิมพ์.
สุพจน์ ทองเนื้อขาว. (2541). ความเชื่อเกี่ยวกับพระธาตุขามแก่น ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.