การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดหนองคาย 2) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดหนองคาย 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาและเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จากแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์ 5 รูป/คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 217 คน วิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดหนองคาย ทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผนบุคลากร ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ด้านการธำรงรักษาบุคคล ด้านการประเมินผลงาน สรุปโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ระดับมาก ทุกด้าน 2. การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษานั้น สรุปได้ว่า การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง การวางแผนบุคลากร การประเมินผลงาน และการธำรงรักษาบุคคล ต้องปราศจากอคติทั้ง 4 ในการบริหารงานบุคคล จึงจะทำให้องค์กร สถาบันการศึกษา มีความเจริญก้าวหน้าไปในอนาคต 3. แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดหนองคาย ได้แก่ อยากให้ทุกหน่วยงาน ได้ปฏิบัติตามหลักคุณธรรม (อคติ 4) นี้ อย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความเจริญต่อส่วนรวมและตนเอง การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรมของบุคลากร อยากให้รู้จักภาระหน้าที่ของตนเองเป็นหลัก โดยปราศจากอคติทั้ง 4 การปฏิบัติงานในแต่ละครั้ง มุ่งเน้นให้บุคลากรมีความตรงต่อเวลา มีจิตใจรักในสถาบัน รักษากฎระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด และมีคุณธรรมจริยธรรม คณะกรรมการประจำโรงเรียนพระปริยัติธรรม ต้องมีหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร มีคณะกรรมการในการตรวจสอบอย่างถูกต้อง และยึดหลักการบริหารงานราชการเป็นหลัก
Article Details
บท
บทความวิจัย
References
กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.(2558). แผนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
คณะทำงานและคณะอนุกรรมการ.(2557). คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งที่เกี่ยวกับพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ฐิติพร สิมสวัสดิ์. (2561). การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธร สุนทรายุทธ.(2550). การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการศึกษา, กรุงเทพมหานคร : บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด.
พระเฉลิมชาติ ชาติวโร (อิทธะรงค์).(2552). ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย, กรุงเทพมหานคร : นวสาส์นการพิมพ์.
พระมหากิจการ โชติปญฺโญ.(2558). การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา,วารสารบัณฑิตศาส์น มมร.ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558.
พระมหาชัยวัฒน์ จตฺตมโล (พรหมสนธิ). (2560). รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 4, ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานรากร ช่างบุ. (2551).“อคติ” กับปัญหาอธิกรณ์ในพุทธศาสนา : กรณีศึกษาสำนักสันติอโศก”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พระมหาอาคม อานนฺโท. (2560). หลักพุทธธรรมของผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดหนครสวรรค์. หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสหพณ จือปา.(2558). ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา : กรณีศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา,วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539) พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อภิชาต พานสุวรรณ.(2560). หลักพุทธบูรณาการเครื่องมือครองใจคนของผู้บริหารยุคใหม่, วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 6, (ฉบับที่ 4 ตุลาคม- ธันวาคม 2560).
คณะทำงานและคณะอนุกรรมการ.(2557). คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งที่เกี่ยวกับพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ฐิติพร สิมสวัสดิ์. (2561). การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธร สุนทรายุทธ.(2550). การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการศึกษา, กรุงเทพมหานคร : บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด.
พระเฉลิมชาติ ชาติวโร (อิทธะรงค์).(2552). ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย, กรุงเทพมหานคร : นวสาส์นการพิมพ์.
พระมหากิจการ โชติปญฺโญ.(2558). การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา,วารสารบัณฑิตศาส์น มมร.ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558.
พระมหาชัยวัฒน์ จตฺตมโล (พรหมสนธิ). (2560). รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 4, ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานรากร ช่างบุ. (2551).“อคติ” กับปัญหาอธิกรณ์ในพุทธศาสนา : กรณีศึกษาสำนักสันติอโศก”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พระมหาอาคม อานนฺโท. (2560). หลักพุทธธรรมของผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดหนครสวรรค์. หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสหพณ จือปา.(2558). ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา : กรณีศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา,วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539) พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อภิชาต พานสุวรรณ.(2560). หลักพุทธบูรณาการเครื่องมือครองใจคนของผู้บริหารยุคใหม่, วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 6, (ฉบับที่ 4 ตุลาคม- ธันวาคม 2560).