วิถีชีวิตคนชนบทไทยยุค 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิถีชีวิตคนชนบทไทยยุค 4.0 ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า ในปัจจุบันสังคมชนบทไทยได้กลายเป็นสังคมชนบทยุคใหม่เรียบร้อยแล้ว เพราะได้รับเอาความทันสมัยตามกระแสโลกาภิวัฒน์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้สังคมชนบทไทยมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับสังคมเมืองมากขึ้น หากแต่ยังมีมิติทางวัฒนธรรมหรือประเพณีท้องถิ่นที่ยังรักษาไว้ให้อย่างเหนียวแน่น อัตลักษณ์ของชนบทไทยที่มีวัฒนธรรมอันดีงามถือเป็นจุดแข็งที่ช่วยให้สังคมชนบทไทยอยู่รอดได้ท่ามกลางความท้าทายใหม่ ๆ ที่ถาโถมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เช่น ความท้าทายด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม เป็นต้น แม้การพัฒนาท้องถิ่นไทยจะเริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 จากระยะแรกที่ท้องถิ่นไทยเป็นฝ่ายรอรับนโยบายการพัฒนา มาสู่การเรียกร้องขอมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ คุณูปการของเทคโนโลยีในยุค 4.0 นี้ ได้ช่วยให้ชนบทไทยมีการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ แม้จะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนชนบทอยู่บ้าง แต่ก็สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างสง่างาม อันเนื่องจากการมีวัฒนธรรมชุมชนที่เข้มแข็งนั่นเอง
Article Details
References
กระทรวงวัฒนธรรม. วัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญา. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงวัฒนธรรม, 2558.
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา, 2559.
กองแผนงานและสารสนเทศ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. แผนยุทธศาสตร์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร : กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, 2560.
ชูชัย สมิทธิไกร. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2553.
ชาย โพธิสิตา. “ชนบทไทยในวิถีทุนนิยม”. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ 37 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2555) : 163-185.
ณรงค์ เส็งประชา. สังคมวิทยาเมืองและชนบท. กรุงเทพมหานคร : กรุงสยามการพิมพ์, 2523.
เดชขจร ภูทิพย์. “การเมืองเรื่องทรัพยากรน้ำ: ศึกษาเฉพาะกรณีโครงการฝายราษีไศล”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2546.
นภาพร อติวานิชยพงศ์. “คนชนบทอีสานกับการทำมาหากิน: ความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย”. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2557) : 103-127.
พระมงคล สุมงฺคโล. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีต่อวิถีชีวิตชนเผ่า ละว้าหมู่ที่ 11 ตำบลป่าแป๋อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2560) : 57-68.
ยสุรัชพงศ์ สิกขาบัณฑิต. นโยบายประเทศไทย 4.0 : โอกาส อุปสรรค และผลประโยชน์ของไทยในภูมิภาคอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มงานสหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิก สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ, 2560.
วงศ์สถิตย์ วิสุภี. “บทบาทชุมชนท้องถิ่นกับการขับเคลื่อนสู่โมเดลประเทศไทย 4.0”. สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน, 2560, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://sites.google.com/a/life.ac.th/main/bthkhwam-wichakar/bthbathchumchnthxngthinkabkarkhabkheluxnsumodelprathesthiy40 (สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2562).
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 (2504-2509). กรุงเทพมหานคร : สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ, 2507.
อรรถจักร สัตยานุรักษ์. ความเปลี่ยนแปลงชนบทในสังคมไทย: ประชาธิปไตยบนความเคลื่อนไหว. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), 2556.
Hawkins, D., I. and Mothersbaugh, D., L. Customer Behavior: Building Marketing Strategy. (12th ed.). New York: McGraw-Hill Irwin, 2013.
Michael, W. Rural. New York : Routledge. Rambo, T., A., 2017.
Rambo, T., A., From Poor Peasants to Entrepreneurial Farmers: The Transformation of Rural Life in Northeast Thailand, 2017.
Riggs, Fred W. “Modernization and Political Problems: Some Developmental Prerequisites”, Development Nations : Guest for A Model (Beling and Toten), 1970.
Solomon, M., R., Customer behavior: Market survey. (11th ed.). 2015.