แนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวหาดสวนหิน บ้านดงคำโพธิ์ ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ทินวัฒน์ แสงศิลา
เขมณัฐ ภูกองไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวหาดสวนหิน      บ้านดงคำโพธิ์ ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อเสนอศึกษาแนวทางในการดำเนินการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวหาดสวนหิน บ้านดงคำโพธิ์ ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมและได้ดำเนินการวิจัย 2 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวหาดสวนหิน บ้านดงคำโพธิ์  ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร วิธีการเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการ ร้านค้า ร้านอาหาร จำนวน 50 คน และกลุ่มนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่ และการพรรณนาความตามเนื้อหา ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวหาดสวนหิน บ้านดงคำโพธิ์ ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร วิธีการเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญของหน่วยงานที่ผู้วิจัยเจาะจงคุณสมบัติ จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวหาดสวนหิน ทั้ง 14 ด้าน ได้แก่ ด้านสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการรวมกลุ่มของประชาชน ด้านคมนาคมท่องเที่ยว ด้านเข้าถึงบริการ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านความรับผิดชอบ ด้านบริบทพื้นที่ วิถีชีวิต ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ด้านความโดดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการวางแผน ด้านการดึงดูดนักท่องเที่ยว ด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่  2) แนวทางในการดำเนินการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวหาดสวนหิน เป็นการบริหารจัดการโดยชุมชน ชุมชนเป็นกลุ่มขับเคลื่อนการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว อาทิ เช่น ด้านงบประมาณ ด้านสาธารณูปโภค ด้านอบรมให้ความรู้ เป็นต้น ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนให้ชุมชนสามารถดำเนินการได้อย่างเข้มแข็งและเกิดความยั่งยืน ส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวหาดสวนหินสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนปฏิบัติราชการกรมการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.tourism.go.th/view/1/ข่าวสาร/ข่าวหน่วยงาน/8229/TH-TH.

กฤษณ์ โคตรสมบัติ. (2553). การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวใน เขตสามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน บนฐานแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
ปิยพร ทาวีกุล. (2544). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา บ้านไหล่หิน ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พจนารถ กรึงไกร. (2545). การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับชุมชนในการจัดการ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พัชรีรัต หารไชย. (2552). การประเมินศักยภาพด้านการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษเพื่อการกำหนดแนวนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระดับจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

รัฐทิตยา หิรัณยหาด. (2544). แนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านวัฒนธรรมเพื่อการ
ท่องเที่ยว กรณีศึกษาบ้านหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิรุจ กิตนันทวีวัฒน์. (2549). จุดเริ่มต้นของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2562, จาก http://www.ttresearch.org/home/ index.php?option=com
_content&task=view&id=46&Itemid=51.

วีระศักดิ์ กราปัญจะ. (2554). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านอ่าว
ท่าเลน – บ้านท่าพรุ ตำบลเขาทอง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. การศึกษาอิสระปริญญา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศรัญยา วรากุลวิทย์. (2547). ปฐมนิเทศอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า ปริ้นติ้ง.

สมชาย สนั่นเมือง. (2540). ชุมชนท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว.
ททท. จุลสารการท่องเที่ยว, 17(1), 19.

สุถี เสริฐศรี. (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุภาพร คำภีระ. (2554). การศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและประวัติศาสตร์ หมู่บ้านสันติสุข ขององค์การบริหารส่วนตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา พุทธศักราช 2551. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงราย.

อรวรรณ เกิดจันทร์. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศป่าชายเลนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Cohen, John M. & T. Uphoff. (1977). Rural Participation: Concepts and Measures
for Project Design. New York: McGraw-Hall.