กระบวนการสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ภาคกลาง

Main Article Content

อนงค์นาฏ แก้วไพฑูรย์
ศศิกิจจ์ อ่ำจุ้ย
ปัญญา พรหมบุตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคกลาง 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคกลาง 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคกลาง การดำเนินการวิจัย โดยการวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มย่อย และการจัดประชุมระดมความคิดเห็นแบบมีส่วนร่วม


 


ผลการการวิจัยพบว่า


1) ผลการศึกษาบริบทผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 4 วิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วยวิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวบ้านบางเดื่อ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวเกษตรกรฟากคลอง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวบ้านหนองแว่น และวิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวบ้านดอนหวาย ทั้ง 4 กลุ่มมีการบริหารจัดการ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการผลิตและด้านการตลาด


2) ผลของการพัฒนาคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 4 กลุ่ม มีดังนี้ 1) การพัฒนาคุณค่าของผลิตภัณฑ์ข้าว คุณค่าทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา 2) การพัฒนามูลค่าเพิ่ม พัฒนาด้านการตลาดพัฒนาการบรรจุภัณฑ์ตราฉลากและ พัฒนาช่องทางจัดจำหน่าย


    3) ผลการวิเคราะห์กระบวนการสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 กลุ่ม จุดอ่อนของกลุ่มคือตราฉลากผลิตภัณฑ์ข้าวยังไม่ชัดเจน ไม่โดดเด่นดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้วิจัยได้พัฒนาตราฉลากเดิม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ให้เกิดการพัฒนาตราฉลากผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความสวยงามดึงดูดใจ และช่องการจัดจำหน่ายที่ชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2545). ประมวลสาระสำคัญที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : หจก.บางกอกบล็อก.

ชาตรี บัวคลี่. (2561). การออกแบบและพัฒนาฉลากสินค้าด้วยกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. รายงานการวิจัย. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว.

ประภาพร ยางประยงค์. (2552). แนวทางการพัฒนาทางการตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน : กรณีศึกษา วิสาหกิจแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าเกาะยอ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. รายงานการวิจัย. สาขาเศรษฐศาตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

ลัดดา วิริยางกูร. (2557). การบริหารจัดการสินค้าข้าวต่อความมั่นคง ด้านอาหารของประเทศไทย.รายงานการวิจัย. หลักสูตรนักบริหารการทูต สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.

ลำยอง ปลั่งกลางและคณะ. (2550). การศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษาวิสาหกิจ ชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ประกอบอาหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.