ความสุขในการทำงานของบุคลากรหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน ในจังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานของบุคลากรหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดนครพนม และศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดนครพนม ประชากรเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดนครพนม จำนวนทั้งสิ้น 108 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- ความสุขในการทำงานของบุคลากรหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- ระดับปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดนครพนม เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับมาก จำนวน 5 ด้าน และระดับปานกลาง จำนวน 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามลำดับ คือ คุณธรรม (Happy Soul) น้ำใจงาม (Happy Heart) และการหาความรู้ (Happy Brain)
Article Details
บท
บทความวิจัย
References
กระทรวงแรงงาน. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกระทรวงแรงงาน ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560 – 2564). สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.mol.go.th/sites/default/files/downloads.
เด่นชัย อาทิตย์เจริญชัย. (2558). องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนศรีบุณยานนท์. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิศากร ชุติมันต์กุลดิลก. (2553). ความสุขในการทำงานของพนักงานกองการผลิต 1 โรงไฟฟ้าแม่เมาะจังหวัด ลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประทุมทิพย์ เกตุแก้ว. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณลักษณะงานความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคกับความสุขในการทำงานของพยาบาลงานพยาบาลผ่าตัด: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
วิภาดา แก้วนิยมชัยศรี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของเทศบาลในจังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุมาลี ดวงกลาง. (2560). ความสุขในการทำงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
สุวีณา ไชยแสนย์. (2558). องค์กรแห่งความสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เด่นชัย อาทิตย์เจริญชัย. (2558). องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนศรีบุณยานนท์. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิศากร ชุติมันต์กุลดิลก. (2553). ความสุขในการทำงานของพนักงานกองการผลิต 1 โรงไฟฟ้าแม่เมาะจังหวัด ลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประทุมทิพย์ เกตุแก้ว. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณลักษณะงานความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคกับความสุขในการทำงานของพยาบาลงานพยาบาลผ่าตัด: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
วิภาดา แก้วนิยมชัยศรี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของเทศบาลในจังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุมาลี ดวงกลาง. (2560). ความสุขในการทำงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
สุวีณา ไชยแสนย์. (2558). องค์กรแห่งความสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.