ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551

Main Article Content

อภิสิทธิ์ ศรีวะสุทธิ์
บัณฑิต ขวาโยธา
กำพล วันทา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ความหมาย ลักษณะและรูปแบบของการทำธุรกรรมในประเทศไทยโดยตัวแทนอำพราง และความเป็นมาของการประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทย และหาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของคนต่างด้าว วิธีการดำเนินงานโดยศึกษาแหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร เกี่ยวกับปัญหาการกำหนดสัดส่วน การถือหุ้นของการประกอบธุรกิจนำเที่ยวของคนต่างด้าว และบทกำหนดโทษของตัวแทนอำพรางที่ถือหุ้นแทนผู้ประกอบธุรกิจชาวต่างชาติ พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 และแก้ไขครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการวิจัยเอกสาร ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย


ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของการประกอบธุรกิจนำเที่ยวของคนต่างด้าว พบว่าการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย สำหรับธุรกิจนำเที่ยว มีสัดส่วนของผู้ถือหุ้นที่เป็นคนต่างชาติในบางบริษัทเกือบ 100%  และอาศัยช่องว่างทางกฎหมายให้คนไทยที่ยินยอมรับจ้างเป็นตัวแทนอำพลางในการถือหุ้นแทนชาวต่างด้าว จึงก่อให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บรายได้ เข้าประเทศ และเมื่อเกิดปัญหากับนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นชาวต่างชาติไม่ได้อยู่ดำเนินการในการแก้ไขปัญหา เพราะอยู่ในต่างประเทศ อีกทั้งไม่มีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ประกอบธุรกิจต่างด้าวที่จ้างคนไทยเป็นตัวแทนอำพลาง จึงทำให้ไม่เกรงกลัวกฎหมาย ดังนั้น  ปัญหาดังที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องได้รับการแก้ไข เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศไทยมีเสถียรภาพมากขึ้นในทุกด้าน และบังคับใช้กฎหมายได้จริงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2538). หลักการมัคคุเทศก์.เชียงใหม่:คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่

ทรงพล กองสุข. (2549). ปัญหาทางกฎหมายในการประกอบธุรกิจนำเที่ยว.วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ทรงยศ เจริญบุญนะ. (2554). ภาพลักษณ์ของบริษัทนำเที่ยวที่มีนักธุรกิจไทยเป็นเจ้าของและบริษัทมีชาวต่างชาติร่วมทุนในมุมมองของมัคคุเทศก์ไทย. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยนเรศวร

ธนิฏฐา เศวตศิลา มณีโชติ. (2542). เอกสารวิชาการส่วนบุคคล ปัญหาธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์.หลักสูตรนักบริหารงานยุติธรรมทางปกครองระดับสูง

นราฤทธิ์ กาแก้ว. (2554). การศึกษาปัญหาข้อกฎหมายบางประการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิศา ชัชกุล. (2550). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว พ.ศ. 2561.(2561).ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 43 ก.

กฎกระทรวงการอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2561. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 84 ง.

ประมวลกฎหมายอาญา. (2560). สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

ประกาศคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์. (2562). หลักสูตรการฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์ พ.ศ. 2562 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 190 ง.

ประกาศคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์.(2561).กำหนดเขตพื้นที่ในท้องถิ่นชุมชน เพื่อให้มัคคุเทศก์ซึ่งได้รับการยกเว้นคุณสมบัติทำหน้าที่มัคคุเทศก์ พ.ศ.2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 124 ง.

พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559.(2559). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 76 ก.

พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542.(2556). สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551. (2556). สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

Investing Philippines. 2013. Retrieved December 14, 2013.

Kindleberger,C.P. 1996. American Business Abors:Six Lecture on Direct investment.