ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา

Main Article Content

หยัด ขจรเกียรติผดุง
เพิ่ม หลวงแก้ว
กำพล วันทา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจทางการศึกษาสู่สถานศึกษา  และหาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ สู่สถานศึกษา โดยศึกษาแหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร/หลักฐาน และกฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจทางการศึกษา อาทิเช่น พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ.2547และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นต้น   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวมรวมโดยการวิเคราะห์เอกสารและกฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา ประกอบข้อสรุปข้อมูลจากการสอบถามและสัมภาษณ์


ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจทางการศึกษา ในทางปฏิบัติยังไม่ได้รับการกระจายอำนาจอย่างแท้จริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เพียงแต่มีหน่วยงานทางการศึกษาอันได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นตัวแทนจากส่วนกลางไปอยู่ในส่วนภูมิภาคเท่านั้น อำนาจการตัดสินใจทุกอย่างยังคงรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลางเป็นผู้วางแผนและตัดสินใจสั่งการเหมือนเดิม ทำให้การบริหารจัดการการศึกษาในระดับสถานศึกษาขาดความคล่องตัวในการพัฒนาการศึกษาไปสู่คุณภาพที่แท้จริงได้ จึงเสนอแนะว่าหากต้องการให้สถานศึกษามีการพัฒนาการศึกษาของตนสู่คุณภาพนั้น ต้องมีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริงให้กับสถานศึกษา ให้มีการกระจายอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดสู่สถานศึกษา โดยให้ผู้มีส่วนได้เสีย (Stake holder) เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทุกด้าน ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐศักดิ์ จันทร์ผล. (2552). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เน้นการ กระจาย อํานาจ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม)

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2550). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ:สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2542). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

เพิ่ม หลวงแก้ว. (2556). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา. (ดุษฎีนิพนธ์สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี)

เพิ่ม หลวงแก้ว. (2561). กฎหมายคุ้มครองจริยธรรมในกระบวนการบริหารงานบุคคล ของข้าราชการครู. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. ปีที่ 18(3). 351 - 361

ภิรมย์พร ไชยยนต์. (2557). การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น: ศึกษากรณีการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด (วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)

ลิขิต ธีรเวคิน. (2535). การกระจายอำนาจ และการมีส่วนรวมในการพัฒนาชนบท, รายงานเสนอต่อสมาคม นักวิจัยมหาวิทยาลัยไทยและมูลนิธิ Friend rich Ebert, (กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์, 2535), หน้า 3.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2549). การสังเคราะห์รายงานการวิจัยการกระจายอำนาจทางการศึกษาใน 8 ประเทศ

อุทัย บุญประเสริฐ. (2548). การสังเคราะห์การกระจายอำนาจทางการศึกษาของประเทศต่าง ๆเอกสาร ประกอบการประชุมโครงการสัมมนาวิจัย เรื่อง การกระจายอำนาจทางการศึกษาประเทศต่าง ๆ ณ โรงแรมบางกอก กอล์ฟ สปารีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี