การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบเกมกระดานเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของนิสิตระดับปริญญาตรี

Main Article Content

ชนันภรณ์ อารีกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้แบบเกมกระดาน เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และศึกษาความพึงพอใจของนิสิตระดับปริญญาตรี ที่มีต่อนวัตกรรมการเรียนรู้แบบเกมกระดาน โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบการวิจัยกึ่งทดลอง     กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกมกระดานเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง แบบสอบถามระดับความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และแบบสอบถามความพึงพอใจ


ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งในภาพรวมของนิสิตระดับปริญญาตรี ก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้แบบเกมกระดาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=2.028, p=0.047) และในภาพรวมนิสิตระดับปริญญาตรีมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมการเรียนรู้แบบเกมกระดาน เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และพึงพอใจต่อความเหมาะสมของจำนวนเวลาที่ใช้ในการเล่นเกมกระดานในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.70, S.D. = 0.47) และนิสิตมีความพึงพอใจในด้านความน่าสนใจและการดึงดูดใจให้เล่มเกมกระดานในครั้งต่อไป ในลำดับรองลงมา (gif.latex?\bar{x} = 4.60, S.D. = 0.50)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การศึกษาความเป็นพลเมืองของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. ใน รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

เดชรัต สุขกำเนิด. (2561). เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง “พัฒนาคนด้วยกลเกม”. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดระบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธราการพิมพ์.

ธีรภาพ แซ่เชี่ย. (2560). การใช้บอร์ดเกมประเภทวางแผนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาการเรียนรู้และนวัตกรรมการศึกษา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และ กันตภณ ธรรมวัฒนา. (2560). พฤติกรรมการเล่นเกมกระดานและองค์ประกอบของปัจจัยทางด้านผลกระทบจากการเล่นเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสังคม, 40(2), 107-132.

สฤณี อาชวานันทกุล. (2559). จักรวาลกระดานเดียว. กรุงเทพมหานคร : แซลมอน.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2556). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง: บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย.

อรรถเศรษฐ์ ปรีดากรณ์. (2557). การออกแบบบอร์ดเกมการศึกษาเรื่องวงสีธรรมชาติสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Silverman, D. (2019). How to learn board game design and development. Retrieved 12 April 2019 from http://gamedevelopment.tutsplus.com/articles/how-to-learn-board-gamedesign-and-development--gamedev-11607.