การศึกษาศักยภาพ สภาพปัญหา และความต้องการในการพัฒนาชุมชน กรณีศึกษาหมู่บ้านดงบัง หมู่ 1 ตำบลหนองสระปลา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ชัยมงคล ศิริวารินทร์
จารุณี จันทรเสนา
ประกาศ แสนทอง
พงศธร แสงลี
ปนิตา จันทร์สงค์

บทคัดย่อ

การศึกษาศักยภาพ ปัญหา และความต้องการของประชาชนหมู่บ้านดงบังหมู่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบททั่วไปทั้งในระดับชุมชนและระดับครัวเรือน 2) เพื่อค้นหาศักยภาพ ปัญหา และความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน โดยการสำรวจชุมชน และการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา ดังนี้


ศักยภาพชุมชน ผลการศึกษาพบว่า หมู่บ้านดงบังหมู่ 1 มีศักยภาพ ดังนี้ 1) ชุมชนหมู่บ้านดงบังมีทรัพยากรบุคคลด้านการทอผ้าและตัดเย็บเสื้อผ้าที่ ซึ่งในปัจจุบันความนิยม ควรพัฒนาศักยภาพด้านการตัดเย็บและออกแบบเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด 2) กลุ่มผู้ประกอบการรถติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ เป็นแหล่งรองรับแรงงานของชุมชน และเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอีกด้วย 3) กลุ่มอาชีพ และกลุ่มกองทุน มีศักยภาพในการดำเนินการ และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างได้ต่อเนื่อง


ปัญหาชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนหมู่บ้านดงบังหมู่ 1 มีปัญหา 1) ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร เพราะยังใช้แรงงานในการผลิตเป็นหลักแทนเครื่องจักรกลเกษตร ซึ่งในชุมชนมีการใช้แรงงานในเวลาที่พร้อมกัน 2) กลุ่มอาชีพสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนได้หลากหลายชนิด แต่ขาดศักยภาพในการนำผลิตภัณฑ์ชุมชนออกสู่ตลาด 3) ขาดผู้สืบต่อภูมิปัญญาการผลิตกลองยาว


ความต้องการชุมชน ผลการศึกษาพบว่าหมู่บ้านดงบังหมู่ 1 มีความต้องการ 1) ต้องการที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเกษตรแบบครบวงจร 2) ต้องการให้หน่วยงานต่าง ๆ ช่วยส่งเสริมด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชนเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ. (2555). วิถีชีวิตชุมชน เครื่องมือ 7 ชิ้น ที่ทำให้งานชุมชนง่าย ได้ผลและสนุก. พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี: สุขศาลา.

พิษณุ เงี่ยมพงษ์. (2558). วิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ : การประยุกต์ใช้และตัวอย่าง. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศยามล เจริญรัตน์. (2553). ศักยภาพชุมชนชนบทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายใต้วิถีชีวิต ที่เปลี่ยนแปลงของชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้งานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพ: โอ.เอส.พริ้นติง.เฮ้าส์.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2537). สังคมวิทยาชุมชน หลักการศึกษาวิเคราะห์และปฏิบัติงานชุมชน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรีย์พร ธรรมิกพงษ์. (2552). รูปแบบการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โอฬมิกาญจน์ คิดเห็น. (2551). ศักยภาพชุมชนและองค์กรชุมชนในการพัฒนาตนเอง กรณีศึกษาเทศบาล ตําบลไทยโยง-ไชย. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ ปกครองท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2563, เมษายน 22). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปี พ.ศ. 2562-2566. Retrieved from https://www.udru.ac.th/website/images/2019/ UDRU-strategic-2562-2566.pdf.