มาตรฐานทางจริยธรรมธรรมเกี่ยวกับการบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างข้าราชการส่วนท้องถิ่นและข้าราชการตำรวจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานทางจริยธรรมในการบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาเปรียบเทียบข้าราชการส่วนท้องถิ่นและข้าราชการตำรวจโดยเฉพาะ ศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับขั้นตอนในการบรรจุแต่งตั้งบุคคลก่อนเข้ารับราชการ ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายมาตรฐานทางจริยธรรมของไทยและต่างประเทศ เสนอแนะแนวทางการพัฒนากฎหมาย เพื่อเป็นหลักการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ให้มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบันต่อไป การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเอกสาร โดยวิจัยจากกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสอบสัมภาษณ์ ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขมาตรฐานจริยธรรม ควรนำแนวทางของข้าราชการตำรวจมาปรับใช้ แก้ไขโดยกำหนดเกณฑ์การตัดสินว่า ผู้ที่คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์เห็นว่าเหมาะสมจึงจะถือว่าผ่าน หากเห็นว่าไม่เหมาะสมจะถือว่าไม่ผ่าน เห็นสมควรว่าการบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการส่วนท้องถิ่น 2) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของการบรรจุแต่งตั้ง โดยการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรม ควรนำแนวทางตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดมาปรับใช้ แก้ไขโดยกำหนดเงื่อนไขของการใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและเป็นธรรมกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณี ๆ ไป 3) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำเนินการสอบที่เป็นไปโดยมิชอบ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในกรณีการให้อำนาจหน่วยงานในสังกัด ดำเนินการสอบเอง ควรนำแนวทางทางการบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการของข้าราชการตำรวจมาปรับใช้ แก้ไขโดยกำหนดให้มีหน่วยงานหลัก คือ กองบัญชาการศึกษา ดำเนินการรับสมัครและสอบแข่งขันบุคคลภายนอก เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
ธนวิธ โชติรัตน์. (2552). แนวทางการพัฒนาการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐโดยคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมและศาลปกครอง. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรวรรณ นุชประยูร. (2558). มาตรการและกลไกในการบังคับใช้ประมวลจริยธรรม : ศึกษากรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารวิชาการ ป.ป.ช., 8(2), 30–49.
พันตำรวจตรีอรุญ กันพร้อม. (2560). ประสิทธิผลการป้องกันการทุจริตการสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจของตำรวจภูธรภาค 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสยาม.
สำนักงาน ก.พ.. (2560). ระบบราชการในสาธารณรัฐฝรั่งเศส. เรียกใช้เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://www.ocsc.go.th/node/3752.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). สรุปผลการดำเนินงานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานศาลปกครอง. (2562). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเล่มที่ 8. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์.
สำนักงานศาลปกครอง. (2561). แนวทางการปฏิบัติราชการจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดประจำปี พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.
สุกัญญา บัวสำราญ. (2552). การทุจริตในการบรรจุแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรพงษ์ แสงเรณู และคณะ. (2560). แนวทางในการแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 67 – 80.
ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงาน ก.พ.. (2560). มาตรฐานทางจริยธรรมสาหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงาน ก.พ.
OECD. (2003). OECD Guidelines for Managing Conflict of Interest in the Public Service. เรียกใช้เมื่อ 26 February 2020 https://www.oecd.org/gov/ethics/48994419.pdf.