มาตรการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ดัดแปลงสภาพ ต่อเติมส่วนควบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง มาตรการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ดัดแปลงสภาพต่อเติมส่วนควบ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีทางกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ ที่เกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ดัดแปลงสภาพต่อเติมส่วนควบ 2) เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในการใช้รถจักรยานยนต์ดัดแปลงสภาพต่อเติมส่วนควบ และ
3) เพื่อศึกษาแนวทางเพิ่มเติมกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับใหม่ที่เกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ดัดแปลงสภาพต่อเติมส่วนควบ ซึ่งวิจัยเรื่องนี้ใช้การวิเคราะห์เอกสาร
ผลการศึกษาพบว่า ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้รถจักรยานยนต์ดัดแปลงสภาพ คือ ปัญหาการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น 1) ความเข้าใจของประชาชนกับมาตรการทางกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
แนวทางแก้ไขคือ มาตรการทางกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่ออกมา มีพื้นฐานจากความเห็นร่วมของประชาชนจนเกิดการยอมรับ ซึ่งการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายเปรียบเสมือนการบังคับให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ประชาชนต้องการนั่นเอง 2) ในระบบการตรวจสอบการรายงานผลของกรมการขนส่งทางบกไม่รัดกุมพอ แนวทางแก้ไขคือ กรมการขนส่งทางบกต้องมีความรัดกุมในการตรวจสอบการรายงาน 3) ประชาชนไม่เห็นความสำคัญของการตรวจสภาพรถยนต์ของทางราชการ
แนวทางแก้ไข คือการนำทฤษฎีลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูมาปรับ เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการกฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการลงโทษตามทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟู คือ 1) หลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้กระทำผิดขาดความเป็นส่วนตัว โดยให้ใช้วิธีการอื่นแทนการลงโทษจำคุกระยะสั้น 2) การลงโทษต้องเหมาะสมกับการกระทำผิดเป็นรายบุคคล และ 3) เมื่อผู้กระทำได้แก้ไขแล้ว ให้หยุดการลงโทษ
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
พงษ์ศักดิ์ ปัตถา. (2561). การดัดแปลงสภาพส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์รถจักรยานยนต์. เรียกใช้เมื่อ 6 ธันวาคม 2562 จาก https://is.gd/QoZiMq.
พลพิพัฒน์ วรชินาคมน์. (2553). การนำเอาโทษกักขังมาใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนธยา จันทร์เยี่ยม. (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการฝ่าฝืนกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สุพรรษา ภู่แย้ม. (2559). ความรับผิดทางอาญาสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้ในการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อุไรวรรณ นงนุช. (2560). สาเหตุการปลอมผลการตรวจสภาพรถ. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.