การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมือง และโครงสร้างอำนาจผู้นำในจังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองและโครงสร้างอำนาจผู้นำใน จังหวัดเลย” มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาหลักการบริหารและโครงสร้างอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดเลย 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองภายใต้โครงสร้างอำนาจผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดเลย 3. เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมือง และโครงสร้างอำนาจของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบสัมภาษณ์เจาะลึก เก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์เจาะลึกและแจกแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งใช้วิธีกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยวิธี ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การตรวจสอบความแตกต่างของผู้ให้ข้อมูลหลัก ความแตกต่างของเวลาที่ได้ข้อมูล และความแตกต่างของสถานที่ที่ได้ข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัญหาและอุปสรรคการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย คือตัวของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างผู้นำและพวกพ้อง และการขาดความตระหนักในการให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรม ความเสื่อมศรัทธาจากประชาชนในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม ขาดความรับผิดชอบในการบริหารจัดการ 2. การพัฒนารูปแบบการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย ควรสร้างสถาบันเพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมสำหรับนักการเมือง เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดเรื่องระเบียบ การควบคุมความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของนักการเมือง 3. คุณค่าการพัฒนาวัฒนธรรมของผู้นำได้ให้ความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายให้เห็นเป็นรูปธรรม เพื่อการแสดงให้เห็นว่าผู้นำได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพและคุณสมบัติที่เหมาะสมกับตำแหน่งทางการบริหารสูงสุดในองค์กร
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กิ่งดาว จินดาเทวิน. (2552). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีสำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในจังหวัดอุตรดิตถ์. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ธรรมรส โชติกุญชร. (2519). มนุษย์สัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิฆเนศ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้องมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).
พระมหาไกรวรรณ ปุณขันธ์. (2552). ผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักเรียนพระปริยัติธรรม. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2535). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.
วุฒิชัย สุคนธวิท. (2545). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม : ศึกษาเฉพาะกรณี กองบังคับการตำรวจนครบาล 9. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2548). การออกแบบการวิจัย. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2553). จำนวนประชากรและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. เรียกใช้เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://1url.ws/GHHU8.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส.
สืบวงศ์ กาฬวงศ์. (2554). ตัวแบบสมรรถนะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อุทัย หิรัญโต. (ม.ป.ป.). สารานุกรมศัพท์ทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.