พลวัตภูมิปัญญาภาษาถิ่นกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

วิวัฒน์ ทองวาด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาการด้านภาษาถิ่น ของชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย 2) เพื่อศึกษาพลวัตภูมิปัญญาภาษาท้องถิ่นกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม และ 3) เพื่อศึกษาวิธีการอนุรักษ์ ส่งเสริมภูมิปัญญาภาษาถิ่นที่มีคุณค่าแก่การดำเนินชีวิต  เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบการสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูล      โดยการสัมภาษณ์และสังเกตแบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วยปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษาหรือชาวบ้านที่เข้าใจโครงสร้างของภาษา ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในเขตชุมชนลุ่มแม่น้ำโขงในจังหวัดหนองคาย ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 25 รูป/คน แล้วนำผลการสัมภาษณ์ไปวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความและสร้างข้อสรุปให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์


ผลจากการวิจัยพบว่า 1)  ภาษาถิ่นอีสานเป็นภาษาที่สังคมลุ่มแม่น้ำโขง ที่ใช้แพร่หลายในพื้นที่จังหวัดหนองคาย 2) การเปลี่ยนแปลงของภาษาเป็นไปตามสภาพสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง และ 3) รัฐควรอนุรักษ์และฟื้นฟูอักษรถิ่นอีสาน เช่น อักษรไทยน้อยและอักษรธรรมอีสาน ให้เป็นที่เป็นที่แพร่หลายและคงอยู่ในสังคมอีสานสืบไป เพราะภาษาและอักษรเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชุมชน ดังนั้น สถาบันครอบครัวเป็นสิ่งแรกที่ควรปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าภาษาถิ่นมีความสำคัญอย่างไร และปลูกฝังให้เด็กไม่อายที่จะพูดภาษาถิ่นในสังคมหรือในครอบครัว ส่วนสถาบันที่สองคือคนในสังคม ที่ไม่ควรรังเกียจหรือเห็นว่าคนพูดภาษาถิ่นเป็นสิ่งแปลกประหลาด แต่ควรให้ความยกย่อง เพราะภาษาถิ่นมีคุณค่าแก่การรักษาไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ฉันทัส ทองช่วย. (2534). ภาษาและอักษรถิ่นพิมพลักษณ์. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และอัครพงษ์ ค่ำคูน. (2552). แม่น้ำโขง ณ นครพนม. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิ โครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษย์ศาสตร์.

Bradley David. (1989). The Disappearance of the Ugong in Thailand. In Nancy Dorian (ed.). Investigating Obsolescence : Studies in Language Contraction and Death. Cambridge, UK : Cambridge University Press.

McCarty Teresa L. (2007). Tove Skutnabb-Kangas, and Ole Henrik Magga. Education for Speakers of Endangered Languages. In Handbook of Educational Linguistics. Oxford, UK : Oxford University Press.

Skehan. (2012). Craig. Time Running out for Moken Way of Life. Bangkok Post, 13 May 2012.