การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตนักเรียนของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตนักเรียนของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตนักเรียนของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการส่งต่อนักเรียน 2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตนักเรียนของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ทั้ง 6 ด้าน คือ 1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ครูที่ปรึกษาควรรู้จักนักเรียนทุกคน และปรับปรุงโครงการเยี่ยมบ้าน 2) ด้านการคัดกรองนักเรียน ควรจัดกลุ่มนักเรียน เพื่อประโยชน์ในการดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสม 3) ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ควรจัดทำแผนกลยุทธ์ และดำเนินกิจกรรมตามแผน 4) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา เมื่อเกิดปัญหากับนักเรียน ต้องให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 5) ด้านการส่งต่อนักเรียน ควรมีการสรุปประวัตินักเรียนเพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้เชี่ยวชาญ และเมื่อนักเรียนบำบัดเสร็จ ต้องได้กลับมาเรียนตามปกติ 6) ด้านการส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตนักเรียน ควรมีการจัดกิจกรรมบนพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคล
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กรมสุขภาพจิต. (2544). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร : ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป.
ชุติมา ถาวรแก้ว. (2559). การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต นักเรียนของสถานศึกษาในจังหวัดปทุมธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (ปทุมธานี-สระบุรี). ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน และคณะ. (2556). การสำรวจสถานกการณ์ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงและการติดเกมส์ในนักเรียนโรงเรียนนนำร่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต.
ธิตินัดดา สิงห์แก้ว. (2562). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้วงจร PDCA : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดป่าตึงห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ปรมาภรณ์ สนธิ. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับประถามศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขาพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตาสหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี.
พัชรินทร์ นินทจันทร์ และคณะ. (2560). ปัจจัยทำนายความแข็งแกร่งในชีวิตในวัยรุ่นกลุ่มด้อยโอกาส. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(1), 13-28.
พิชญานนท์ งามเฉลียว และวดี อัมรักเลิศ. (2556). พัฒนาการทางด้านจิตใจและสังคมในวัยรุ่น. ใน พิชญานนท์ งามเฉลียว, วดี อัมรักเลิศ, และธารทิพย์ แสงสุวรรณ์ (บรรณาธิการ), การดูแลสุขภาพสำหรับ 3 รุ่นอายุ: วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ. (หน้า 13-28) สงขลา : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มรรยาท รุจิวิทย์. (2548). การจัดการความเครียดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจิต. ปทุมธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยุวดี ปั้นงา. (2554). พัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รสวันต์ อารีมิตร. (2555). พัฒนาการด้านจิตใจและสังคมของวัยรุ่น. ใน วิโรจน์ อารีกุล, ศิริไชย หงษ์สงวนศรี, สุริยเดว ทรีปาตี, บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์, รสวันต์ อารีมิตร, จิราภรณ์ ประเสริฐวิทย์, และคณะ (บรรณาธิการ), พัฒนาการและการเจริญเติบโตของวัยรุ่น (หน้า 19-222). กรุงเทพมหานคร : เอพลัสพริ้น.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (2563). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25.
สิทธิศักดิ์ อุษาพรหม. (2552). การพัฒนากระบวนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านอูนนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุกัญญา สุรังสี และคณะ. (2562). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(3), 194-204.
อรทัย มังคลาด. (2557). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 อำเภอจุน จังหวัดพะเยา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
Grotberg, E. H. (1995). A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spiri. The Hague : The Bernard van Leer Foundation.