ปัญหาทางกฎหมายและแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการคุ้มครองผู้บริโภค ศึกษากรณีผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

Main Article Content

ประถมาภรณ์ นรสิงห์
สุนทรี บูชิตชน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ปัญหาค่าสินไหมทดแทน ปัญหาในการโฆษณาเครื่องสำอาง และปัญหาการฟ้องร้องค่าสินไหมทดแทนจากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการอนุญาตผลิตเครื่องสำอาง การวิจัยเรื่องนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำรากฎหมาย บทความทางกฎหมาย บทความทางวิชาการ บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และศึกษาเทียบเคียงกับกฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายเครื่องสำอางของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ


จากการศึกษาการควบคุมเครื่องสำอางตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 พบปัญหาเกี่ยวกับการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค ที่ได้รับความเสียหายจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง การโฆษณาเครื่องสำอางที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสรรพคุณของเครื่องสำอาง ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ให้สิทธิแก่โจทก์ในการร้องขอให้ศาลกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษ หรือควรบัญญัติเพิ่มเติมให้ประชาชนในประเทศมีหน้าที่ในการพิจารณาร่วมกับศาล และมีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มเติม ในเรื่องของการกำหนดให้จดแจ้งข้อความที่จะใช้ในการโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อขาย หรือนำเข้าเพื่อขาย พร้อม ๆ กับจดแจ้งขออนุญาตผลิตเครื่องสำอาง และกฎหมายควรเพิ่มเติมให้มีการจัดตั้งกองทุนทดแทน เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย หรือการผลิตเครื่องสำอางที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นการเยียวผู้เสียหายในเบื้องต้น อย่างเช่นเดียวกันกับการเยียวยาความเสียหายให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กลุ่มกำกับดูแลเครื่องสำอางหลังออกสู่ตลาด สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2562). คู่มือการโฆษณาเครื่องสำอาง. กรุงเทพมหานคร : คิวคัมเบอร์ (ประเทศไทย) .

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). อันตรายจากสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562 จาก https://bit.ly/38K3Mc1

ทวียศ ศรีเกตุ. (2557). ผู้บริโภคกับปัญหาการซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายออนไลน์. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562 จาก https://bit.ly/32BGVeE

ธรรมนิตย์ สุมันตกุล. (2558). ค่าเสียหายเชิงลงโทษ. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2563 จาก http://web.krisdika.go.th/pdfPage.jsp?type=act&actCode=253

บำเพ็ญ เขียวหวาน. (2562). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยและสังคมโลก. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562 จาก https://bit.ly/3pnWmko

ปรมาภรณ์ ลิมป์เลิศเสถียร. (2557). พลวัตรของสำนวน สุภาษิตไทยในยุควัฒนธรรมสมัยนิยม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 34(4) : 201-217.

ฤติมา ดิลกตระกูลชัย. (2559). การนำเสนอเนื้อหาความงามและผลิตภัณฑ์เครื่อสำอางผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์บิวตี้บล็อกเกอร์. กรุงเทพมหานคร : สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมฤดี ธัญญสิริ. (ม.ป.ป.). บุคคลภายนอกเสียหายจากการกระทำละเมิด: สิทธิของผู้เสียหายกับหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ. เรียกใช้เมื่อ 28 พฤษภาคม 2563 จาก https://bit.ly/36LX7eP

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2554). สรุปผลโครงการสัมมนารับฟังความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่. เรียกใช้เมื่อ 28 พฤษภาคม 2563 จาก http://web.krisdika.go.th/data/activity/act176.pdf

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2562). ข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภค. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2562 จาก https://www.ocpb.go.th/news_view.php?nid=36

อนงค์รัตน์ คงลาภ. (2562). ค่าเสียหายเชิงลงโทษความท้าทายใหม่ในระบบกฎหมายของประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2562 จาก https://bit.ly/3lrAy5b

MedThai. (2562). สารในครีมหน้าขาวยอดนิยมอะไรบ้าง ตัวไหนเสี่ยง ตัวไหนเวิร์ค?. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2563 จาก https://medthai.com/whitening-agents/