แนวทางการสร้างจิตสำนึกสาธารณะในการพัฒนาชุมชน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

อภิวัฒชัย พุทธจร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และสัมภาษณ์เชิงลึก มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย     3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการมีจิตสำนึกสาธารณะ ในการพัฒนาชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย (2)  เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม ของการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ ในการพัฒนาชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และ (3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะในการพัฒนาชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย


ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ ในการพัฒนาชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติปานกลาง  ( gif.latex?\bar{x}=3.09) พิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปฏิบัติปานกลางทั้งหมด ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ต่อการสร้างจิตสำนึกสาธารณะอยู่ในระดับปฏิบัติมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}=4.57)  2) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ ในการพัฒนาชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พบว่า จุดแข็งของการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ มีจำนวน 35 ประเด็น จุดอ่อนของการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ มีจำนวน 21 ประเด็น โอกาสของการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ มีจำนวน 12 ประเด็น และภาวะคุกคามของการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ มีจำนวน 21 ประเด็น 3) กลยุทธ์การเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นให้แก่ประชาชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย กลยุทธ์ 2 กลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์รอง และ 33 มาตรการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

บรรทม มณีโชติ. (2530). การศึกษารูปแบบของข้อคำถามวัดลักษณะนิสัยด้านความเสียสละ ชนิดข้อความและชนิดสถานการณ์ที่มีผลต่อคุณภาพของแบบทดสอบ. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.

ประเวศ วะสี และคณะ. (2542). ยุทธศาสตร์แก้วิกฤติชาติ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

สมพงษ์ สิงหะพล. (2536). รูปแบบการสอน. นครราชสีมา : คณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยครูนครราชสีมา.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

หฤทัย อาจปรุ. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นํา รูปแบบการดําเนินชีวิตและความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง กับการมีจิตสํานึกสาธารณะของนักศึกษาพยาบาลเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุไรวรรณ เดชาสิทธิ์. (2558). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 14(2), 99-109.