การเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแบบร่างบรรจุภัณฑ์ เกลือสปาของชุมชนบ้านดงป่ายูงตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

Main Article Content

ภัทรนันท์ กัญจนวิภาพร
ปาลิดา ศรีศรกำพล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแบบร่างผลิตภัณฑ์เกลือสปา ระหว่างรูปแบบที่ 1 และรูปแบบที่ 2 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ตัวแปรตาม ได้แก่ ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแบบร่างบรรจุภัณฑ์เกลือสปาในด้านโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ด้านการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ด้านสื่อประชาสัมพันธ์ ด้านการส่งเสริมการขาย กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวที่มานมัสการองค์พระธาตุพนม จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.5 อายุ 21-30 ปี ร้อยละ 41 การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 61 มีอาชีพนักเรียนหรือนักศึกษา ร้อยละ 48 และรายได้ระหว่าง 15,001-30,000 บาท ร้อยละ 57.5 (2) ผลการการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแบบร่างบรรจุภัณฑ์เกลือสปา แบบที่ 1 และแบบที่ 2 พบว่า 1) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อแบบร่างบรรจุภัณฑ์เกลือสปา แบบที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.34, S.D = 0.686) (3) ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความแตกต่างแบบร่างบรรจุภัณฑ์เกลือสปา ระหว่างแบบที่ 1 และ แบบที่ 2 พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในแบบร่างบรรจุภัณฑ์แบบที่ 1 มากกว่าแบบที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทาง (p < 0.05) ในทุกด้านคือ ด้านโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ด้านการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ด้านการสื่อประชาสัมพันธ์ ด้านการส่งเสริมการขาย จากผลวิจัยนี้ จึงสรุปได้ว่า แบบร่างบรรจุภัณฑ์แบบที่ 1 สามารถเป็นหลักเกณฑ์ในการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าเกลือสปาได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). เรียกใช้เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2563 จากhttps://www.tat.or.th/th/about-tat/market-plan.

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) จังหวัดนครพนม. (2556). แผนพัฒนาจังหวัดนครพนม 4 ปี (พ.ศ. 2558 - 2561). นครพนม : สำนักงานจังหวัดนครพนม.

ตรีรัตน์ อรอมรรัตน์. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารแมวระดับพรีเมียมของผู้บริโภค. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุพดี ทองโคตร และคณะ. (2559). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทเกลือ สปากุญณภัทร ของผู้บริโภคในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. ใน รายงานวิจัย. คณะบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี.

อรนุช คําแปน และคณะ. (2560). การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์สปานารียา. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เอกรินทร์ จินดา. (2559). การพัฒนาขนมหวานเพื่อเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว ในเขตเทศบาลตำบลบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี. ใน จุลนิพนธ์ตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิ. สาขาวิชาบริหารธุรกิจทั่วไปการจัดการธุรกิจ. คณะวิทยาการจัดการ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Hox, J. J. (2002). Multilevel analysis : Techniquesand applications. New Jersey : Lawrence Erlbaum Associates.

Kotler P., & Keller, K. L.. (2012). Marketing Management. Englewood Cliffs,NJ : Prentice.