ความแตกฉานด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคในหมู่ผู้เรียนทางสื่อสารการกีฬาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

Main Article Content

สิโรดม มณีแฮด
จักรี มณีแฮด
ธนพัฒน์ วุฒิสารวัฒนา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความแตกฉานด้านสุขภาพในหมู่ผู้เรียน 2) ศึกษาพฤติกรรมป้องกันโรคในหมู่ผู้เรียน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแตกฉานด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคในหมู่ผู้เรียนทางสื่อสารการกีฬาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนระดับปริญญาตรี สาขาสื่อสารการกีฬา จำนวน 78 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความแตกฉานด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคในหมู่ผู้เรียนทางสื่อสารการกีฬาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เรียนทางสื่อสารการกีฬาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 78.21)            ซึ่งจำแนกเป็นผู้เรียนชั้นปีที่ 1 มากที่สุด (ร้อยละ 33.33) ผู้เรียนมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีมากที่สุด (ร้อยละ 48.72) 2) ผู้เรียนทางสื่อสารการกีฬามีความแตกฉานด้านสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (ค่าเฉลี่ย = 44.47, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 5.27) 3) ผู้เรียนทางสื่อสารการกีฬามีพฤติกรรมการป้องกันโรคในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (ค่าเฉลี่ย = 45.17, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 2.85)             และ 4) ความแตกฉานด้านสุขภาพในหมู่ผู้เรียนทางสื่อสารการกีฬามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง                  (ค่า r = 0.58)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยง. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(3), 13-24.

พรพรรณ สมินทร์ปัญญา และคณะ. (2560). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของประชาชน บ้านคั่นตะเคียน ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(35), 37-51.

ภัทร์ธนิตา ศรีแสง และวราภรณ์ ดีน้ำจืด. (2562). ความรอบรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร : การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2), 340-350.

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 183-197.

วิทยา ศรแก้ว. (2563). พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(2), 13-26.

ศิริวรรณ ชอบธรรมสกุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 116-123.

สิโรดม มณีแฮด และศรินญา นิยมวงศ์. (2563). การออกแบบเรขภาพข่าวสำหรับการสื่อสารสาธารณสุขในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของสำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 14(2), 150-165.

สิโรดม มณีแฮด และสรัญญา เชื้อทอง. (2563). การสื่อสารสุขภาพของกรมควบคุมโรคโดยใช้เรื่องเล่าอินโฟกราฟิกในสถานการณ์โควิด-19. วารสารการสื่อสารมวลชน, 8(2), 91-119.

Ammar, A. et al. (2020). Effects of COVID-19 Home Confinement on Eating Behavior and Physical Activity : Results of the ECLB-COVID-19 International Online Survey. Journal of Nutrients, 12(6), 1583-1595.

Da Silva, J. G. et al. (2020). Health Literacy of the Inland Population in Mitigation Phase 3.2 of the COVID-19 Pandemic in Portugal : A Descriptive Cross-Sectional Study. Portuguese Journal of Public Health, 38(1), 51-61.

Dhawan, S. (2020). Online Learning : A Panacea in the Time of COVID-19 Crisis. Journal of Educational Technology Systems, 49(1), 5-22.

Liu, P. L. (2020). COVID-19 Information Seeking on Digital Media and Preventive Behaviors : The Mediation Role of Worry. Journal of Cyberpsychology, Behavior, and Social Networking, 23(10), 677-682.

Tria, J. Z. (2020). The COVID-19 Pandemic through the Lens of Education in the Philippines : The New Normal. International Journal of Pedagogical Development and Lifelong Learning, 1(1), 2001-2004.

Zhang, Y. &. (2020). Impact of the COVID-19 Pandemic on Mental Health and Quality of Life among Local Residents in Liaoning Province, China : A Cross-Sectional Study. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(7). 2381-2392.

Zhao, X. et al. (2020). Online Health Information Seeking Using “COVID-19 Patient Seeking Help” on Weibo in Wuhan, China: Descriptive Study. Journal of Medical Internet Research, 22(10), 1-13.