ความผูกพันต่อองค์กรของครูที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของครู 2) ศึกษาระดับการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์กรของครูกับงานบริหารงบประมาณในสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์กรของครูที่ส่งผลต่อการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเลย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี ประกอบด้วยระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ และระเบียบวิธีเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเลย จำนวน 349 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเลย ทักษะการปฏิบัติสู่เจตคติที่ดีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.72) 2) การบริหารงบประมาณของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเลย งานการบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.75) 3) ความผูกพันต่อองค์กรของครูที่ส่งผลต่อการบริหารงานงบประมาณ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเลย มีความสัมพันธ์กัน โดยทักษะความผูกพันที่มีเป้าหมาย (X3) มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r = .805) และ 4) สมการพยากรณ์การบริหารงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเลย โดยใช้ความผูกพันต่อองค์กรของครูเป็นตัวแปรพยากรณ์ ได้อำนาจพยากรณ์ร้อยละ 68.80
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การบริหารจัดการงบประมาณ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
จันทรา อิ่มในบุญ. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์กรของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
จำนง เหล่าคงธรรม. (2554). ความผูกพันต่อองค์กรของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
จุฑาทิพย์ หอยนกคง. (2556). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ฐิฏิมา พุฒประเสริฐ. (2556). ความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายวังบูรพาจังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ดุษยา กลิ่นสุคนธ์. (2557). ปัจจัยของความผูกพันต่อองค์กรของครูในสถานศึกษา สังกัดโรงเรียนเอกชนจังหวัดลพบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ธนยุทธ บุตรขวัญ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. ใน การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน คณะศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
พงศธร รอดถาวร. (2553). แบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
พิชัย เสงี่ยมจิต. (2542). การบริหารงานเฉพาะด้านในสถาบันการศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ศุภวรรณ หลําผาสุข. (2550). การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนในเครือสารสาสน์ เขตพื้นที่การศึกษา 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สร้อยวสันต์ ศรีคำแหง. (2554). การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). การจัดทำงบประมาณแบบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (MTEL). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุกัญญา ขุ้ยย่อง. (2560). การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2527). หลักการบริหารการศึกษาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : อมรการพิมพ์. Greenberg, J. (1999). Managing behavior in organization. (4th ed.). New Jersey : Prentice-Hall.
Greenberg, J. & R. A. Baron. (1993). Behavior in Organization. (7th ed. New Jersey : Prentice-Hall.