การศึกษาวิเคราะห์ภาพสะท้อนทางสังคมในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถาที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวอีสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนทางสังคมในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถาที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวอีสาน การศึกษาพบว่า เนื้อหาสาระในธัมมปทัฏฐกถาสะท้อนให้เห็นภาพวิถีชีวิตของชาวอีสาน 6 ด้าน คือ 1. ด้านการปกครอง ธัมมปทัฏฐกถากล่าวถึงบทบาทของนักปกครองในการบำบัดทุกข์บำรุงให้แก่ประชาชน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการวางรูปแบบการปกครองของชาวอีสาน ที่เรียกว่า คองสิบสี่ 2. ด้านเศรษฐกิจ ธัมมปทัฏฐกถากล่าวถึงอาชีพเกษตรกรรมของชาวอินเดีย ซึ่งมีอิทธิพลต่อพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกษตรของชาวอีสาน คือ ผีตาแฮก ซึ่งเป็นผีประจำไร่นา 3. ด้านภาษาและวรรณกรรม ธัมมปทัฏฐกถาถูกบันทึกด้วยภาษาบาลี ซึ่งภาษาบาลีและเรื่องราวในธัมมปทัฏฐกถามีอิทธิพลต่อคำผญาและวรรณกรรมมุขปาฐะของชาวอีสานหลายเรื่อง 4. ด้านการศึกษา ธัมมปทัฏฐกถากล่าวถึงการจัดการศึกษาพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ โดยศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสำนักของพระอุปัชฌาย์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อค่านิยมการบวชเรียนของชาวอีสาน 5. ด้านประเพณี ธัมมปทัฏฐกถากล่าวถึงวัฒนธรรมและประเพณีของชาวอินเดียไว้หลายประการ ซึ่งมีอิทธิพลและเป็นที่มาของประเพณีของชาวอีสาน ที่เรียกว่า ประเพณีฮีตสิบสอง คือ เรื่องเอรกปัตต์ เรื่องบุรพกรรมของพระอัญญาโกณฑัญญะ เรื่องปุณณทาสี เรื่องบุรพกรรมของพระพุทธเจ้า เรื่องพระฉัพพัคคีย์ เรื่องบุรพกรรมของพระอุรุเวลกัสสปะ เรื่องกาลียักษิณี และเรื่องยมกปาฏิหาริย์ 6. ด้านความเชื่อ ธัมมปทัฏฐกถากล่าวถึงความเชื่อของชาวอินเดียที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเชื่อของคนอีสาน จนกลายมาเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อหลาย ๆ อย่าง
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์. (2534). อีสานเมื่อวันวาน. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์.
จารุบุตร เรืองสุวรรณ. (2520). ของดีอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2522). ลักษณะวรรณกรรมอีสาน. กาฬสินธุ์ : จินตภัณฑ์การพิมพ์.
________________. (2528). บทบาทของหมอลำต่อสังคมอีสานในช่วงกึ่งศตวรรษ. รายงานวิจัย.
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
ชลธิรา กลัดอยู่. (2518). คาถาธรรมบทและอรรถกถาธรรมบท. เมืองโบราณ. 2(1), 29-39.
ธวัช ปุณโณทก. (2529). สถาบันพระพุทธศาสนากับวิถีชีวิตในสังคมอีสาน สมัยพุทธศตวรรษที่ 20-21. ใน เอกสารสัมมนาวิชาการอีสานศึกษา. วิทยาลัยครูมหาสารคาม.
ป.หลงสมบุญ. (2540). พจนานุกรม มคธ-ไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักเรียนวัดปากน้ำ.
ปรีชา พิณทอง. (2535). ประเพณีโบราณไทยอีสาน. อุบลราชธานี : ศิริธรรมออฟเซ็ท.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์.
กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระมหาทรรศน์ คุณทสฺสี (โพนดวงกรณ์). (2546). การศึกษาเปรียบเทียบพุทธวิธีการสอนในอรรถกถาธรรมบท กับกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาประทีป อภิวฑฺฒโน. (2561). สารัตถะในธรรมบทและธัมมปทัฏฐกถา. ขอนแก่น : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
พระมหาประหยัด ปญฺญาวโร. (2542). จริยธรรมในลำกลอน. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________________. (2540). วิทยานิพนธ์ปริทัศน์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2514). พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. พระนคร : มงคลการพิมพ์.
______________. (2551). ธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
______________. ธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
______________. ธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 6. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
วิทย์ ศิวะศริยานนท์. (2531). วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
วีกิพีเดีย. (2563). ภาคอีสาน (ประเทศไทย). เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2563 จาก https://1th.me/vjZ4W.
ศาสตราจารย์ ยู.ดี.ชัยเซเกรา. (2527). ธรรมบท. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ลินคอรน์โปรโมชั่น.
สมศักดิ์ คุณปู่. (2555). การพัฒนาการศึกษาคณะสงฆ์ไทย. เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2562 จาก https://1th.me/ynauR.
สาร สาระทัศนานันท์. (2522). หนังสือชุดสมบัติอีสาน เล่ม 1. เลย : ศูนย์วัฒนธรรมวิทยาลัยครูเลย.
สำลี รักสุทธี. (2548). ผญา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.
สำนักงานสถิตแห่งชาติ. (2563). 4 สถิติศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม. เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2563 จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/04.aspx
สุทิน สนองผัน. (2536). “หมอลำ: อดีตและปัจจุบัน” รวมบทความประวัติศาสตร์. มานพ ถาวรวัฒน์สกุล (บรรณาธิการ). กรุงเทพมหานคร : สมาคมประวัติศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี.
สุพิศ เอื้องแซะ. (2560). ภาพสะท้อนสังคมและกลวิธีการนำเสนอเรื่องสั้นในนิตยสาร “คู่สร้างคู่สม”. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
สุรชัย ชินบุตร. (2560). “ภาพสะท้อนสังคมอีสานที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องนางสิบสอง”. การประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง “ขับนิทานนางสิบสอง ขานทำนองพระรถเมรี” : นิทานมรดกแห่งอุษาคเนย์. บรรณาธิการโดย รัตนพล ชื่นค้า. กรุงเทพมหานคร : สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ ภาควิชาวรรณคดี ภาควิชาภาษาไทย ภาควิชาดนตรี และ คณะกรรมการฝ่ายวิจัยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อภิศักดิ์ โสมอินทร์. (2524). โลกทัศน์อีสาน. กาฬสินธุ์ : โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.
อภิศักดิ์ โสมอินทร์. (2526). คติชาวบ้านไทยอีสาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
Wellek, Rene., and Austin Warren Jr., (1956). Theory of literature 3rd ed. New York: Harcourt, Brace & World.