ต้นแบบความเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ภัณฑิลา น้อยเจริญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดสวัสดิการด้วยความเอื้ออาทรแก่ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย   2) สร้างต้นแบบการจัดสวัสดิการด้วยความเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคายในเชิงนโยบายสาธารณะ และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะต่อการจัดสวัสดิการด้วยความเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย


ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่มีค่าสหสัมพันธ์กับการจัดสวัสดิการด้วยความเอื้ออาทรแก่ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการสร้างบริการทางสังคมและเครือข่ายเกื้อหนุน รองลงมาคือ ปัจจัยด้านความมั่นคงของครอบครัว ผู้ดูแลและการคุ้มครอง ปัจจัยด้านนันทนาการ และปัจจัยด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และปัจจัยด้านรายได้และปัจจัยด้านที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01, 2) ต้นแบบการจัดสวัสดิการด้วยความเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ในเชิงนโยบายสาธารณะ ประกอบด้วยปัจจัยมาตรฐานด้านการสร้างบริการทางสังคมและเครือข่ายเกื้อหนุน ปัจจัยมาตรฐานด้านความมั่นคงของครอบครัว ผู้ดูแลและการคุ้มครอง และปัจจัยมาตรฐานด้านสุขภาพและการรักษาสุขภาพ 3) ข้อเสนอแนะต่อการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุคือ ควรมีกฎหมายที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มงบประมาณสำหรับการจัดสวัสดิการในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุให้มากขึ้น และรัฐบาลควรเพิ่มงบประมาณในการฝึกอบรมสร้างอาชีพให้กับผู้สูงอายุตามศักยภาพของผู้สูงอายุในแต่ละท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2549). มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2549. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย. (2553). แผนพัฒนาผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิลและนุชนาฎ ยูฮันเงาะ. (2554). กลไกลการบริหารระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไทย. รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส). กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ไทยรีฟอร์ม. (2557). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2555. เรียกใช้เมื่อ 16 กันยายน 2557. จาก www.isranews.org/thaireform-other-news/item/27830-ageing-society.thml.

ปราโมทย์ ปราสาทกุล.(2556). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 114ก. หน้า 1-21. 17 พฤศจิกายน 2546.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 130 ก. หน้า 1-8. ธันวาคม 2546.

พระราชบัญญัติสุขภาพ พ.ศ. 2550. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 16 ก. หน้า 19 มีนาคม 2550.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. หน้า 24 สิงหาคม 2550.

สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2558). ประชากรผู้สูงอายุไทย : ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพนมหานคร : สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.