วิเคราะห์ความกตัญญูกตเวทีต่อมารดาบิดาในโสณนันทชาดก

Main Article Content

เสาวนีย์ อันสนั่น
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


โสณนันทชาดก เป็นนิทานชาดกอีกเรื่องหนึ่งที่มุ่งปลูกฝังคุณธรรมเรื่องความกตัญญูกตเวทีแก่บุคคลที่อยู่ในฐานะบุตรธิดา โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมผู้สูงอายุ มีพ่อแม่ปู่ย่าตายายจำนวนไม่น้อย ที่ถูกลูกหลานทอดทิ้ง ดังนั้น การปลูกฝังเรื่องความกตัญญูกตเวทีแก่ลูกหลาน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการคือ เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาด้านความกตัญญูกตเวทีในโสณนันทชาดก และเพื่อวิเคราะห์ความกตัญญูกตเวทีของโสณดาบสและนันทดาบสในเชิงสังคม


การศึกษาพบว่า เนื้อหาด้านความกตัญญูกตเวทีในโสณนันทชาดก มี 4 ประการ คือ 1) ความกตัญูกตเวทีของภิกษุ ได้แก่ เนื้อหาของชาดกที่เป็นปัจจุบันวัตถุ 2) การช่วยกันจัดสถานที่ต่าง ๆ ให้บิดามารดา ได้แก่ การสร้างอาศรมและปัดกวาดเสนาสนะให้สะอาดร่มรื่นเสมอ 3) การช่วยกันจัดเตรียมน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ได้แก่ การจัดเตรียมน้ำดื่ม ไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้าในเวลาเช้า และต้มน้ำอุ่นให้อาบในเวลาเย็น 4) การช่วยกันจัดหาผลไม้มาให้บริโภค ได้แก่ การจัดหาผลไม้ที่มีรสอร่อยมาให้บริโภคอย่างเพียงพอในแต่ละวัน ส่วนการวิเคราะห์ความกตัญญูกตเวทีของโสณดาบสและนันทดาบสในเชิงสังคม พบว่า การแสดงความกตัญญูกตเวทีในเชิงสังคมของโสณดาบสและนันทดาบส มี 3 ประการ คือ  1) ภิกษุเลี้ยงดูมารดาบิดา ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุอุปัฏฐากเลี้ยงดูมารดาบิดาได้ 2) การตอบแทนบุญคุณมารดาบิดาตามหลักทิศ 6 ได้แก่ โสณดาบสและนันทดาบส ได้ตอบแทนอุปการคุณของมารดาบิดา 5 ประการ 3) ความเป็นอภิชาตบุตร ได้แก่ โสณดาบสและนันทดาบสมีภูมิธรรมสูงกว่ามารดาบิดา คือ ได้อภิญญา 5

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

กรมสุขภาพจิต. (2563). 93 วันสู่สังคม “คนชรา” 5 จังหวัด? คนแก่เยอะสุด-น้อยสุด. เรียกใช้เมื่อ ตุลาคม 2563 จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30453.

___________. (2563). ก้าวย่างของประเทศไทย สู่‘สังคมผู้สูงอายุ’อย่างสมบูรณ์แบบ. เรียกใช้เมื่อ 30 ตุลาคม 2563 จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476.

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). บทบาทผู้สูงอายุต่อสังคม ครอบครัว ชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 18 ตุลาคม 2563 จาก http://www.anamai.moph.go.th/soongwai.

ข่าวสดรายวัน. (2553). พระดูแลแม่อัมพาต กับน้องชายพิการ ญาติโยมแห่ช่วย. เรียกใช้เมื่อ 18 มิถุนายน 2563 จาก https://1th.me/mUy4N.

คมชัดลึก ออนไลน์. (2556). ยอดกตัญญู!พระธุดงค์ดูแลแม่ป่วยหนัก. เรียกใช้เมื่อ 18 มิถุนายน 2563 จาก https://www.komchadluek.net/news/lifestyle/154472.

ธรรมสภา. (2540). พุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา.

พระเปลี่ยน สุรกฺโข (ศรีนานนท์). (2558). ศึกษาวิธีการบำรุงบิดามารดาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของประชาชนในอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4(2), 47-60.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกและอรรถกถา แปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสสน์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหธรรมิก.

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (2546). มงคลยอดชีวิต ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.

สมบูรณ์ วัฒนะ. (2560). การดูแลบิดามารดาสูงอายุตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาของครอบครัวไทยพุทธ. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(2), 66-80.

อร่าม อินพุ่ม. (2549). มงคลชีวิต 38 ประการ สำหรับผู้ครองเรือน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เพชรกะรัต.