แนวทางการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามแนววิถีพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ปัจจุบันสังคมโลกเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้สอนจำเป็นต้องรู้ให้เท่าทันกระบวนการจัดการที่เปลี่ยนแปลงไป ตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ตั้งจุดมุ่งหมายสำหรับผู้เรียนไว้ คือ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีจิตสำนึกการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข นอกจากนี้ ยังต้องพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนววิถีพุทธ จึงมีส่วนความสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะและปลูกฝังผู้เรียนให้พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยการพัฒนานวัตกรรมที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ จัดกระบวนการเรียนรู้ในเชิงสร้างสรรค์ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแนวทางที่มีความสำคัญต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงสังคมการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์เส. (2548). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบพุทธวิธีเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประเวศ วะสี. (2546). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบพุทธ. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.
ประสาร ทองภักดี. (2526). กลวิธีสอนตามแนวพระพุทธศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ตามแนวพุทธศาสตร์ ภาคที่ 2 ระบบการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
พระดิฐวัฒน์ อภิวฑฺฒนธมฺโม (ทิพคุณ) และคณะ. (2562). พุทธวิธีการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 153-165.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. (2543). คำพ่อสอน : ประมวลพระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรุงเทพมหานคร.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2530). เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ.
วรวิทย์ วศินสรากร. (2545). สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับที่ 26. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธนรัช การพิมพ์.
วศิน อินทสระ. (2534). พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
สำเริง บุญเรืองรัตน์. (2542). ปรัชญาการศึกษาของไทย. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2513). พุทธวิธี. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี พริ้นติ้งกรุ๊ป.