อาชีพนักธรณีวิทยาตามแนวพุทธธรรม

Main Article Content

ศศิธร บุตรดี
พระครูพิศาลสารบัณฑิต
สมเดช นามเกตุ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอหลักการทำงาน จรรยาบรรณของวิชาชีพนักธรณีวิทยา ซึ่งเป็นผู้รู้และเข้าใจบ้านของมนุษย์ทุกคนคือโลกใบนี้ บ้านที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายให้เราใช้สอย ทั้งที่อยู่บนพื้นผิวโลกและใต้พื้นผิวโลกที่ประกอบไปด้วยดิน หิน แร่ต่าง ๆ นักธรณีวิทยาศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสสารที่เป็นส่วนประกอบของโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ และการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ การทำงานในหน้าที่ของนักธรณีวิทยา ทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ ในมหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน บริษัทข้ามชาติจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก หรือเจ้าของกิจการ ทำให้บทบาทและหน้าที่ของนักธรณีวิทยาต้องปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กร แต่ไม่ว่าจะทำงานอยู่ในหน่วยงานใด ตำแหน่งใด หัวใจหลักของนักธรณีวิทยาคือจรรยาบรรณนักธรณีวิทยา ซึ่งมีความสอดคล้องตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และเป็นแนวปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณของวิชาชีพนักธรณีวิทยา มีดังนี้ 1) หลักอิทธิบาท 4 2) พรหมวิหาร 4 3) สังคหวัตถุ 4 และ 4) สัปปุริสธรรม 7 เมื่อนำหลักพุทธธรรมทั้งสี่ มาใช้ควบคู่กับจรรยาบรรณนักธรณีวิทยา ในการทำหน้าที่และปฏิบัติงาน ทำให้นักธรณีวิทยาสามารถมองเห็นภาพรวมและศึกษาสภาพแวดล้อม ให้ข้อมูลทางธรณีวิทยาตามความเป็นจริง เพื่อนำองค์ความรู้มาพัฒนาชีวิตมนุษย์ให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล และหลักธรรมทั้ง 4 ประการนี้ ยังใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต การอยู่ร่วมในสังคม ตลอดจนการประพฤติตนให้ดีงาม เป็นนักธรณีที่มีคุณภาพ มีความสุขความเจริญ ใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ ทั้งต่อส่วนตน ต่อครอบครัว ต่อสังคม และทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมทรัพยากรธรณี. (2559). สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว. เรียกใช้เมื่อ 24 มิถุนายน 2565 จาก http://www.dmr.go.th/main.php?filename=case_eq.

จงพันธ์ จงลักษณมณี. (2527). ระเบียบข้อบังคับของสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : กรมทรัพยากรธรณี.

ไทยรัฐออนไลน์. (2561). มหาภัยภาวะโลกร้อน. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565 จากhttps://www.thairath.co.th/newspaper/columns/1379129.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 129 ตอนพิเศษ 68 ง หน้า 61-64 (20 เมษายน 2555).

พุทธทาสภิกขุ. (2542). ว่างตามหลักพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์.

วริยา ชินวรรโณ. (2546). จริยธรรมในวิชาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล. (2564). งานของนักธรณีวิทยา. เรียกใช้เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2565 จาก http://www.geo.sc.chula.ac.th/jobs/

เอกพันธ์ ปัตถาวะโร. (2555). จรรยาบรรณวิชาชีพ. เรียกใช้เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2565 จาก http://aekapan.blogspot.com/2012/08/blog-post.html