มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจบริการที่พักแบบเศรษฐกิจแบ่งปันผ่านทางแพลตฟอร์มดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจองที่พักผ่านทางแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเลือกจองที่พักล่วงหน้าได้สะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น ผู้บริโภคจึงสามารถเลือกจองที่พักได้ตามความพึงพอใจ ซึ่งปัจจุบันถือเป็นตัวกลางสำคัญในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดปัญหาขึ้นอาจทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีห้องพักไม่ตรงกับที่ได้มีการเผยแพร่โฆษณาไว้ อีกทั้งแนวทางการบังคับใช้กฎหมายในการเรียกร้องค่าเสียหาย ยังไม่เหมาะสมกับธุรกิจบริการที่พักแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน ผ่านทางแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับนักท่องเที่ยว ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดมาตรการเฉพาะในการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ใช้ในการจองที่พักแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน ตลอดจนมาตรการคุ้มครองที่ชัดเจนเกี่ยวกับธุรกิจที่พักแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน หรือมาตรฐานแนวทางปฏิบัติในการกำกับดูแลการดำเนินการธุรกิจดังกล่าว
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการปรับใช้ และประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งเป็นการจองที่พักแบบเศรษฐกิจแบ่งปันผ่านบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล นอกจากนี้ ยังศึกษามาตรการทางกฎหมายในประเทศไทย เพื่อนำมาปรับใช้ในการกำกับดูแลและคุ้มครองความเสียหาย แก่ผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เป็นการศึกษาวิจัยในรูปแบบการวิจัยเชิงเอกสาร รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจดังกล่าว ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรนำมาตรการของต่างประเทศมาปรับใช้และขอเสนอให้มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อใช้ในการควบคุมและกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่ใช้ในการจองที่พักแบบเศรษฐกิจแบ่งปันเป็นการเฉพาะอย่างเป็นรูปธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
ณัฐนันท์ หิรัญรัศมีสกุล. (2556). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปณิตา ผ่องภรพล. (2556). การคุ้มครองผู้บริโภคในการจองห้องพักออนไลน์. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรมาภรณ์ วีระพันธ์. (2562). ปัญหาการปรับใช้กฎหมายในการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้เข้าพักในธุรกิจเพื่อการพักแรมที่ไม่ใช่โรงแรมในเขตพื้นที่อำเภอสังคมจังหวัดหนองคาย. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 6(1), 1-13.
พชร ชัยวี. (2561). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจการให้เช่าที่พักอาศัยระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2564 จาก https://shorturl.asia/qajwB.
วาริชา สิริปุญญานนท์. (2563). ปัญหาทางกฎหมายอันเกี่ยวด้วยธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัยระยะสั้นที่มิใช่โรงแรม: ศึกษากรณี Airbnb. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิยกานต์ ปานสุวรรณ. (2563). แนวทางมาตรการกำกับดูแลธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัยในลักษณะการเช่ารายวัน - ธุรกิจ Airbnb. ใน สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถิตย์ อินตา. (2562). กฎหมายเรื่องจ้างทำของและหลักนิติกรรมและสัญญาทั่วไป. เรียกใช้เมื่อ 22 พฤษจิกายน 2564 จาก https://shorturl.asia/Z0BQs.
สุภาพร แก้วตา. (2561). การคุ้มครองนักท่องเที่ยวในการใช้บริการห้องพักรายวัน. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเอกชนและกฎหมายธุรกิจ, มหาวิทยาลัยสยาม.
เสกสรร หนูอินทร์. (2562). ปัญหาความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจบริการให้เช่าที่พักซึ่งไม่ได้รับอนุญาตในประเทศไทย : ศึกษากรณีการเช่าที่พักผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศ Airbnb. ใน สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Digital Law. (2564). อัปเดตร่างกฎหมาย Digital Platform กับข้อสงสัยที่ใคร ๆ อยากรู้. เรียกใช้เมื่อ 5 ธันวาคม 2564 จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Update-Draft-Digital-Platform-Decree.aspx
San Francisco Planning. (2023). The Office of Short-Term Rentals (OSTR). Accessed November 13, 2022. Available from https://sfplanning.org/office-short-term-rentals.